Story Telling By HON
ผู้พิการ ความเสี่ยงจาก อัตลักษณ์ทับซ้อน
เมื่อคนคนหนึ่งเกิดมาเป็นคนพิการก็มักจะถูกมองว่าดูแลตัวเองไม่ได้ มีเรื่องที่ทำไม่ได้และไม่ควรทำ มีเรื่องที่ควรรู้ และไม่จำเป็นต้องรู้ด้วยเหตุผลว่าเป็นคนพิการ
หากมีเพศกำเนิดหญิง ก็ต้องเผชิญกับค่านิยมของครอบครัวและสังคมแบบชายเป็นใหญ่ ที่เป็นผู้หญิงต้องทำแบบนั้นต้องเป็นแบบนี้ รวมไปถึงต้องอยู่ในการดูแลของผู้ชาย
ยิ่งมีอัตลักษณ์เพศหลากหลายด้วย แล้วอยู่ในสังคมที่การยอมรับและการปฏิบัติต่อเพศหลากหลายยังขาดความเข้าใจ ถูกกีดกัน หรือยังมองเป็นความผิดปกติที่ไม่ควรเป็น ควรจะเลิก หรือควรจะเปลี่ยน
อัตลักษณ์ และ อัตลักษณ์ทับซ้อน
“ผู้หญิงที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อนเช่น เป็นผู้หญิง อายุน้อย และมีความหลากหลายทางเพศ เมื่อไปอยู่ท่ามกลางการทำงานแบบวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ ความพยายามที่จะต่อสู้ ส่งเสียง มักจะไม่ถูกได้ยิน มันไม่ง่ายเลย โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชาย ที่มีอายุมากกว่าและมีรสนิยมทางเพศแบบรักต่างเพศเวลาที่เราเห็นความไม่เป็นธรรมทางเพศในการทำงาน ทำให้เรามีมุมมองในการทำงานที่แตกต่างออกไป” …
ทำความเข้าใจเรื่อง “การเลือกปฏิบัติ”
การเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบเกิดขึ้นบนพื้นฐานของการมีอคติบนแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ (identity) นำมาซึ่งความแตกแยก ความเกลียดชัง และแม้กระทั่งการลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นเพียงเพราะมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งอคติเหล่านี้นำมาซึ่งการกำหนด กฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติที่มีการเลือกปฏิบัติ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ถือเป็นการหล่อเลี้ยงความไม่เท่าเทียมกันคงอยู่ในสังคมไปเรื่อยๆ อาทิ เพศ สีผิว เชื้อชาติ…