LBT-Well Being

พื้นที่ปลอดภัยที่รู้สึกเหมือนบ้าน

ทุกคนล้วนต้องการสถานที่ที่ทำให้รู้สึกปลอดภัย อบอุ่น และเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เราอาจเรียกสถานที่เช่นนี้คือ “พื้นที่ปลอดภัย” ที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านจริง ๆ หรือสถานที่อื่นๆ ที่ทำให้เรารู้สึกว่าได้รับการยอมรับและสามารถเป็นตัวเองได้ เครือข่ายสุขภาพและโอกาส (Health and Oppitunity Network) หรือที่กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในพัทยารู้จักกันดีในชื่อของ HON โดย ทฤษฎี สว่างยิ่ง บงกช บุญประสาน สนธยา ห้วยหงส์ทอง  กุสุมา จันทร์มูล  และอาสาสมัคร LBTQ อีกหลายท่านช่วยกันเนรมิตสถานที่แห่งนี้ให้เป็นสถานที่สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันในนาม HON BKK  และในวันที่ 16 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา HON BKK ได้มีโอกาสเปิดบ้านต้อนรับผู้ที่มาเยี่ยมเยียนเป็นครั้งแรก  Open House – วันเปิดบ้าน เมื่อเดินผ่านประตูรั้วสีเขียวเข้ามาในบริเวณบ้าน ทุกคนต่างประทับใจกับสนามหญ้าสีเขียวที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี หลายคนอุทานว่า “น่ามากางเต๊นส์นอนกลางสนาม”       นอกจากสีเขียวของสนามหญ้า เราจะเห็นตัวบ้านไม้สีเหลืองอยู่ท่ามกลางต้นไม้ เป็นรูปแบบบ้านที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยและคุ้นตาในวัยเด็ก   ในเรื่องนี้บ้านหลังนี้ ทฤษฎี สว่างยิ่ง ผู้อำนวยการเครือข่ายสุขภาพและโอกาส […]

พื้นที่ปลอดภัยที่รู้สึกเหมือนบ้าน Read More »

10 ประเด็นทางสังคมและปัญหาที่ LGBTQ ทั่วโลกเผชิญ

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา สิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ได้รับการยอมรับมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในด้านกฎหมายและสังคม อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด แต่ชุมชน LGBTQ ยังคงเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรคมากมายที่สะท้อนถึงปัญหาทางสังคม วัฒนธรรม และโครงสร้างทางกฎหมายที่ยังคงเลือกปฏิบัติในหลายพื้นที่   ปัญหาที่กลุ่ม LGBTQ ต้องเผชิญมีหลากหลายแง่มุม ตั้งแต่การถูกกีดกันในครอบครัวและสังคม การถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน ไปจนถึงการขาดสิทธิทางกฎหมายที่เท่าเทียมกับคนรักต่างเพศ ในบางประเทศ คนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศและรสนิยมทางเพศที่แตกต่างยังคงต้องเผชิญกับการลงโทษทางกฎหมาย การเลือกปฏิบัติ และความรุนแรงที่เกิดจากความเกลียดชัง (hate crimes)    แม้แต่ในประเทศที่มีกฎหมายรองรับสิทธิ LGBTQ แล้ว อคติและทัศนคติแบบเหมารวมยังคงเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดการกีดกันในระดับสังคม นอกจากนี้ สุขภาพจิตของคนในกลุ่ม LGBTQ ก็เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากพวกเขามีแนวโน้มเผชิญกับความเครียด วิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าจากแรงกดดันทางสังคม รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพและการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม   เราจะพาไปสำรวจ 10 ประเด็นทางสังคมและปัญหาสำคัญที่ LGBTQ ทั่วโลกเผชิญ เพื่อให้เห็นถึงอุปสรรคที่ยังคงมีอยู่ และสะท้อนถึงความจำเป็นในการสร้างสังคมที่เท่าเทียมและครอบคลุมสำหรับทุกคน 1. การเลือกปฏิบัติและการขาดสิทธิทางกฎหมาย 1.1 บางประเทศยังคงมีกฎหมายที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แม้ว่าหลายประเทศทั่วโลกจะมีการพัฒนาในด้านสิทธิของ LGBTQ+ มากขึ้น แต่ในบางประเทศกลับยังมีกฎหมายที่กำหนดให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในบางพื้นที่ของแอฟริกา

10 ประเด็นทางสังคมและปัญหาที่ LGBTQ ทั่วโลกเผชิญ Read More »

ความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน :  การสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อ  LGBTQIAN+

สำหรับองค์กรสมัยใหม่  ความมุ่งมั่นในการสนับสนุนความหลากหลายทางเพศผ่านนโยบายที่ครอบคลุมและกิจกรรมที่ส่งเสริมความหลากหลาย สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร แต่ยังช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า เช่นเดียวกับที่องค์กรชั้นนำอย่าง Google, Microsoft, และ Unilever ได้แสดงให้ชาวโลกเห็นเป็นแบบอย่าง แน่นอนว่าองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยเองก็มีความพยายามที่จะมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน แต่ก็มักจะพบว่าเป็นเพียงนโยบายที่ยังไม่ครอบคลุมไปถึงการปฏิบัติ กิจกรรมที่ส่งเสริมความหลากหลายก็ยังไม่มีความชัดเจนมากพอที่จะเป็นองค์กรตัวอย่างให้พูดถึงได้ หรือแม้จะมีก็อาจจะเป็นเพียงการสร้างภาพแต่เพียงภายนอก ที่มีเพียงคนภายในเท่านั้นที่รู้ว่านโยบายเช่นนี้เอาไว้ขายภาพลักษณ์ให้กับคนภายนอก แม้แต่องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับวงการบันเทิงที่สังคมไทยยอมรับว่าน่าจะเป็นองค์กรแรกๆ ที่ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศผ่านผลงานที่เป็นหนัง ละคร การแสดงต่างๆ แต่การทำงานภายในและการบริหารก็ยังไม่ได้ปรับตัวตามจนมีข่าวเล็ดลอดออกมาภายนอกอยู่บ่อยครั้ง    ความท้าทายขององค์กรสมัยใหม่ ในการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงานกลายเป็นประเด็นสำคัญในองค์กรที่ต้องการสร้างความยุติธรรมและความหลากหลาย กลุ่ม LGBTQIAN+  เป็นหนึ่งในกลุ่มที่เผชิญกับความท้าทายอย่างมากในสถานที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการถูกเลือกปฏิบัติ  การไม่มีโอกาสที่เท่าเทียม หรือการขาดพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงตัวตน การสร้างความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงานสำหรับกลุ่ม LGBTQIAN+ จึงเป็นก้าวสำคัญที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ ความสำคัญของความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน 1 ดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ องค์กรที่แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนความเท่าเทียมจะมีโอกาสดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพสูงจากหลากหลายพื้นเพมาร่วมงาน และยังช่วยลดอัตราการลาออกของพนักงาน 2 ส่งเสริมความหลากหลาย การยอมรับในความแตกต่างของพนักงานจะช่วยเพิ่มมุมมองที่หลากหลายในการแก้ปัญหาและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ 3 ดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ องค์กรที่แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนความเท่าเทียมจะมีโอกาสดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพสูงจากหลากหลายพื้นเพมาร่วมงาน และยังช่วยลดอัตราการลาออกของพนักงาน ความท้าทายที่กลุ่ม LGBTQIAN+ เผชิญในที่ทำงาน 1 การเลือกปฏิบัติทางเพศ พนักงาน LGBTQIAN+ หลายคนยังคงเผชิญกับการเลือกปฏิบัติ เช่น การไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งหรือการถูกล้อเลียนในที่ทำงาน 

ความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน :  การสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อ  LGBTQIAN+ Read More »

“บ้าน HON โฉมใหม่กับมาตรา 3: ก้าวสำคัญของระบบสุขภาพไทย”

ทำความรู้จักบ้าน HON หลังใหม่   บ้านสองชั้นสีเหลืองหน้าบ้านมีเทอเรซ  เป็นแบบบ้านทรงนิยมตลอดกาล รอบๆ ประกอบไปด้วยสนามหญ้าและต้นไม้สร้างความร่มรื่นให้แก่ตัวบ้านเป็นอย่างมาก  ถัดไปภายในเป็นพื้นที่สำหรับนั่งเล่น หรือทำกิจกรรมต่างๆ  ส่วนด้านบนสามารถปรับแต่งเป็นทั้งห้องประชุมหรือห้องพักได้ตามสถานการณ์     บ้านใหม่ในย่านวงศ์สว่างแห่งนี้ กำลังจะกลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของ HON (เครือข่ายสุขภาพและโอกาส Health and Opportunity Network) แรกเริ่มเดิมที HON มีพื้นที่ทำงานหลักอยู่ที่พัทยา เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มน้องๆ   กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะกลุ่มหญิงข้ามเพศ และพนักงานบริการ โดยมีบทบาทในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและการเข้ารับการรักษา และบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มานานกว่า 10 ปี  ในปี 2568 นี้ บ้าน HON ขยับเพิ่มขึ้นหลังหนึ่ง ณ กรุงเทพฯ  HON BKK หน่วยบริการมาตรา 3   ข้อมูลจาก รศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  กล่าวว่า  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยกลุ่มภารกิจสนับสนุนการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิ ได้มีการประสานการดำเนินงานร่วมกับองค์กรภาคประชาชนในด้านต่างๆ พร้อมสนับสนุนการร่วมจัดบริการและขึ้นทะเบียนเป็น

“บ้าน HON โฉมใหม่กับมาตรา 3: ก้าวสำคัญของระบบสุขภาพไทย” Read More »

Sex, Gender, Identity

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แนวคิดเกี่ยวกับเพศไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ “ชาย” หรือ “หญิง” อีกต่อไป อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) เพศสภาพ (Gender) และเพศวิถี (Sexual Orientation) เป็นแนวคิดสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจความหลากหลายของมนุษย์มากขึ้น จากกรอบคิดแบบดั้งเดิมที่ผูกเพศกับชีววิทยา วันนี้เราได้เรียนรู้ว่าเพศเป็นสิ่งที่มีมิติทางสังคม วัฒนธรรม และปัจเจกบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง LBQ+ Well Being จะทดลองพาพวกเราไปสำรวจแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเพศ พร้อมทั้งเจาะลึกถึงบทบาทของสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อการกำหนดอัตลักษณ์ทางเพศและเพศวิถี เราจะถอดรหัสความเข้าใจผิดที่พบบ่อย และเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับโลกที่เปิดกว้างขึ้นสำหรับทุกอัตลักษณ์ทางเพศ เพราะท้ายที่สุดแล้ว เพศไม่ใช่แค่เรื่องของร่างกาย แต่เป็นเรื่องของตัวตนและการยอมรับในความเป็นมนุษย์  ความหมายของ Sex, Gender และ Identity   •Sex (เพศกำเนิด): อ้างอิงถึงลักษณะทางชีววิทยาของบุคคล เช่น โครโมโซม ฮอร์โมน และลักษณะทางกายภาพที่ถูกกำหนดตั้งแต่เกิด •Gender (เพศสภาพ): บทบาท บรรทัดฐาน และความคาดหวังทางสังคมที่กำหนดให้กับเพศชายและเพศหญิง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม •Gender Identity (อัตลักษณ์ทางเพศ): ความรู้สึกภายในของบุคคลว่าตัวเองเป็นเพศใด ซึ่งอาจสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด อัตลักษณ์ทางเพศและความหลากหลายของเพศสภาพ •Binary

Sex, Gender, Identity Read More »

ความเท่าเทียมในทางปฏิบัติ  สิทธิมนุษยชนของ LBQ

สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญต่อการดำรงชีวิตของทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา เพศ แต่จากการสำรวจข้อมูลและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกลุ่ม LBQ (เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล เควียร์) ยังคงพบว่าคนกลุ่มนี้ประสบปัญหาการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน  ที่สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม ในกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อสุขภาวะของ LBQ ได้นำประเด็นความรู้และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีการเลือกปฏิบัติหรือการละเมิดสิทธิมนุษชน รวมไปถึงกลไกการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ LBQ ควรรู้และนำไปปฏิบัติได้ สำหรับความเข้าใจพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่ม LBQ นั้น เป็นเรื่องของการปฎิบัติอย่างเท่าเทียมในทุกด้านของชีวิตโดยปราศจากการเลือกปฎิบัติหรือการถูกละเมิด เช่น       – สิทธิในการมีชีวิตที่ปลอดภัย หมายถึง ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้โดยปราศจากการถูกคุกคาม หรือการใช้ความรุนแรง อันเนื่องมาจากความเป็นเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศ       -สิทธิในการแสดงออกถึงตัวตน หมายถึงสามารถแสดงตัวตนทางเพศได้โดยปราศจากความกลัวหรือการกีดกัน       -สิทธิในการเข้าถึงการศึกษา หมายถึงรัฐรับรองสิทธิการศึกษาให้เป็นการศึกษาฟรีที่ทุกคนต้องได้รับ 15 ปี ตั้งแต่อนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3      -สิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งและที่ขึ้นทะเบียนไว้กับรัฐ และการเป็นสิทธิที่ต้องได้รับการบริการที่เหมาะสมโดยไม่มีอคติ      -สิทธิในความเท่าเทียมทางกฎหมาย  หมายถึงการเข้าถึงสิทธิต่างๆ เช่น การคุ้มครองในที่ทำงาน การแต่งงาน

ความเท่าเทียมในทางปฏิบัติ  สิทธิมนุษยชนของ LBQ Read More »

The Miseducation of Cameron Post

รีวิวหนังสือ:   (The Miseducation of Cameron Post) โดย Emily M. Danforth “The Miseducation of Cameron Post” เป็นนิยายที่สำรวจเรื่องราวของการค้นหาตัวตนและการยอมรับความรักระหว่างผู้หญิงในสังคมที่มีความเชื่อที่เข้มงวดและไม่ยอมรับความรักเพศเดียวกันเรื่องราวเริ่มต้นเมื่อ แคเมรอนโพสต์ (Cameron Post) สาวน้อยวัยรุ่นที่เติบโตในรัฐมอนแทนาในครอบครัวที่เคร่งศาสนา ได้เผชิญกับการสูญเสียพ่อแม่และการค้นพบความรักกับเพื่อนหญิงที่ชื่อว่า เจมี่ ในขณะที่แคเมรอนต้องพยายามต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเองและการยอมรับจากสังคมที่ยังไม่เข้าใจความรักของเธอ เมื่อแคเมรอนถูกจับได้ว่ารักเพศเดียวกัน ครอบครัวและสังคมไม่ยอมรับ และส่งเธอไปยัง ศูนย์ฟื้นฟูการรักษาผู้รักเพศเดียวกัน (gay conversion therapy) ที่มีวิธีการบังคับและปราบปรามความเป็นตัวตนของเธอ ภายในศูนย์นั้นแคเมรอนได้พบกับเพื่อนใหม่ที่มีประสบการณ์คล้ายกัน แต่ทั้งสามก็ยังคงพยายามรักษาความเป็นตัวเองท่ามกลางความกดดันที่พวกเขาต้องเผชิญ หนังสือเล่มนี้มีความลึกซึ้งในแง่ของการสำรวจความรู้สึกภายในของตัวละครและการแสดงออกถึงความยากลำบากในการค้นหาความรักในสถานการณ์ที่ท้าทาย ท่ามกลางการขัดแย้งทางศีลธรรมและการยอมรับจากสังคม มันเป็นการต่อสู้ที่ทั้งเจ็บปวดและมีความหวัง พร้อมทั้งมีการถ่ายทอดความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครในรูปแบบที่ละเอียดและทำให้ผู้อ่านเห็นถึงความเข้มแข็งของการรักและการอยู่รอด รีวิวภาพยนตร์: (The Miseducation of Cameron Post) ภาพยนตร์ดัดแปลงจากนิยายของ Emily M. Danforth นำเสนอเรื่องราวในแบบที่ละเอียดอ่อนและมีอารมณ์ร่วม โดยผู้กำกับ Desiree Akhavan ได้ถ่ายทอดการเดินทางของแคเมรอนในฐานะสาววัยรุ่นที่ถูกส่งไปที่ศูนย์ฟื้นฟูการรักษาความเป็นเกย์ หลังจากที่เธอถูกจับได้ว่ามีความสัมพันธ์กับเพื่อนหญิง นักแสดงนำ

The Miseducation of Cameron Post Read More »

พื้นที่ปลอดภัยสำหรับ LBQ+: สร้างความเข้าใจและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม

ในสังคมที่หลากหลายทางเพศและวัฒนธรรม การสร้าง “พื้นที่ปลอดภัย” สำหรับกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะกลุ่ม LBQ+ (Lesbian, Bisexual, Queer และกลุ่มคนที่ไม่ได้ระบุเพศชัดเจน) มีความสำคัญอย่างยิ่ง การสร้างพื้นที่เหล่านี้ไม่ได้หมายถึงเพียงการให้สถานที่ทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อความสบายใจ การยอมรับ และการเคารพซึ่งกันและกัน พื้นที่ปลอดภัยคืออะไร? พื้นที่ปลอดภัย (Safe Space) คือสถานที่หรือสภาพแวดล้อมที่บุคคลสามารถแสดงตัวตน ความคิดเห็น และความรู้สึกได้โดยไม่ต้องกลัวการถูกปฏิเสธ วิพากษ์วิจารณ์ หรือทำร้าย ไม่ว่าจะเป็นทางคำพูดหรือการกระทำ สำหรับกลุ่ม LBQ+ พื้นที่ปลอดภัยนี้สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความมั่นใจว่าเสียงของพวกเขาจะได้รับการรับฟัง และตัวตนของพวกเขาจะได้รับการเคารพอย่างแท้จริง ความสำคัญของพื้นที่ปลอดภัยสำหรับ LBQ+ 1. ลดการเลือกปฏิบัติ กลุ่ม LBQ+ มักเผชิญกับการเลือกปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ เช่น คำพูดที่บั่นทอน การกระทำที่ไม่เคารพ หรือการขาดโอกาสในหลายๆ ด้าน พื้นที่ปลอดภัยช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ และส่งเสริมให้ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม 2. ส่งเสริมสุขภาพจิต สภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและสนับสนุนสามารถลดความเครียด ความวิตกกังวล และความรู้สึกโดดเดี่ยวของกลุ่ม LBQ+ การมีพื้นที่ปลอดภัยช่วยให้พวกเขาสามารถแสดงตัวตนอย่างเต็มที่ และได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม 3. กระตุ้นความเข้าใจและการเรียนรู้ร่วมกัน พื้นที่ปลอดภัยเปิดโอกาสให้ผู้คนในสังคมได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและความสำคัญของการเคารพสิทธิของผู้อื่น ช่วยลดอคติและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่มคนหลากหลาย

พื้นที่ปลอดภัยสำหรับ LBQ+: สร้างความเข้าใจและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม Read More »

อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity): ความหมาย ความสำคัญ และการยอมรับในสังคม

ความหมายของอัตลักษณ์ทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) หมายถึงการรับรู้และความเข้าใจของบุคคลเกี่ยวกับเพศของตนเอง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่ที่เพศชายหรือเพศหญิงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความหลากหลายทางเพศที่อยู่นอกกรอบของเพศแบบไบนารี (Binary Gender) เช่น คนข้ามเพศ (Transgender), คนไม่ระบุเพศ (Non-binary), หรือเพศที่ลื่นไหล (Gender-fluid) อัตลักษณ์ทางเพศไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับเพศที่บุคคลได้รับการกำหนดตั้งแต่เกิด และเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้บุคคลรู้สึกถึงความเป็นตัวเองและความสมดุลทางอารมณ์   ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์ทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศเป็นผลลัพธ์ของปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยทางชีวภาพ เช่น ฮอร์โมนและโครงสร้างสมอง ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม เช่น บทบาททางเพศที่สังคมกำหนด และประสบการณ์ส่วนตัวที่หล่อหลอมความคิดและความรู้สึกของบุคคล การพัฒนาของอัตลักษณ์ทางเพศเริ่มตั้งแต่วัยเด็กและอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อบุคคลเติบโตและสำรวจตัวเอง  ความสำคัญของการเข้าใจอัตลักษณ์ทางเพศ การทำความเข้าใจอัตลักษณ์ทางเพศช่วยให้เราเปิดรับความหลากหลายของมนุษย์และลดการเลือกปฏิบัติในสังคม ความไม่เข้าใจหรือการปฏิเสธอัตลักษณ์ทางเพศของผู้อื่นอาจนำไปสู่ปัญหาทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความซึมเศร้า หรือการถูกกีดกันทางสังคม ในทางกลับกัน การยอมรับและสนับสนุนสามารถสร้างความมั่นคงทางจิตใจและเพิ่มความสุขในชีวิต การแสดงออกทางเพศ (Gender Expression) การแสดงออกทางเพศเป็นวิธีที่บุคคลสื่อสารอัตลักษณ์ทางเพศของตนผ่านการแต่งกาย ท่าทาง หรือพฤติกรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับเพศที่สังคมคาดหวัง เช่น ผู้ชายที่เลือกแต่งกายในแบบที่ดู “เป็นผู้หญิง” หรือคนที่เลือกการแต่งกายแบบที่ไม่ระบุเพศ (Androgynous) ความท้าทายที่บุคคลเผชิญในสังคม แม้ว่าโลกจะมีความก้าวหน้าในการยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่บุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศแตกต่างยังคงเผชิญกับอุปสรรค เช่น การถูกเลือกปฏิบัติ

อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity): ความหมาย ความสำคัญ และการยอมรับในสังคม Read More »

แม้ไม่เห็นด้วยตา ก็ต้องเห็นด้วยใจ

แม้ไม่เห็นด้วยตา  ก็ต้องเห็นด้วยใจ : วัย อาชีพ ความพิการ ก็มองหาทางออกเดียวกัน   

แต่ละคนประสบปัญหาที่ไม่เหมือนกัน  แต่ก็มีรากของปัญหาจากที่มาเดียวกัน  การไปแก้ปมหรืออคติอาจจะต้องใช้เวลานาน แต่ทางแก้ที่จะทำให้คนได้เข้าถึงสิทธิการบริการด้านสุขภาพ สิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้เหมือนกันทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องลงมือทำได้ทันที สุมาลี โตกทอง  คณะทำงานของโครงการ LBT Wellbeing กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาของ LBT ที่มีที่มาจากการเก็บข้อมูลผ่านการสนทนากลุ่ม (Focus group)  การแลกเปลี่ยนปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข ทั้งที่ทำได้ด้วยตัวเอง ด้วยพลังของการสนับสนุนจากกลุ่ม ชุมชน  และการช่วยกันผลักดันให้หน่วยงานที่จัดการระบบได้พัฒนาการบริการต่างๆ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการใช้ชีวิตของ LBT ด้วย  ในแต่ละช่วงวัยนั้นประสบปัญหามากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน ปัญหาที่เกิดจากการไม่ถูกยอมรับ อคติ ที่ทำให้เกิดการตีตรา การเลือกปฏิบัตินั้น เป็นปัญหาที่ใหญ่มากในทุกระดับของสังคม ทั้งครอบครัว โรงเรียน ชุมชน  ที่ทำงาน บริบททางสังคม สิ่งแวดล้อม กระทบไปถึงการประกอบอาชีพ  ยิ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อนยิ่งประสบปัญหาหลายรูปแบบ ผลกระทบจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งและการรับมือของแต่ละคน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่พวกเขาต้องเผชิญคนเดียว เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทั้งสังคม ที่ต้องช่วยกันมองให้เห็นและเปลี่ยนแปลงให้ได้    ในด้านช่วงวัย มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนทั้ง กลุ่มเยาวชน วัยทำงาน และผู้สูงวัย สำหรับกลุ่มเยาวชนนั้นอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ความรู้

แม้ไม่เห็นด้วยตา  ก็ต้องเห็นด้วยใจ : วัย อาชีพ ความพิการ ก็มองหาทางออกเดียวกัน    Read More »