บทความที่น่าสนใจ

LBTQ+ ไทย 2025: คนเพิ่ม เสียงยังเบา

ในปี 2025 นี้ ประเทศไทยยังคงเป็นหนึ่งในประเทศเอเชียที่มีภาพลักษณ์เปิดกว้างต่อกลุ่ม LGBTQ+ มากที่สุด ทว่าเมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปกว่าภาพบนโซเชียลมีเดียหรือวงการบันเทิง จะพบว่าความเสมอภาคทางสิทธิ์ยังคงเป็นประเด็นที่ติดหล่มและไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ในปี 2025 ประเทศไทยยังคงได้รับการขนานนามว่าเป็น “สวรรค์” ของกลุ่ม LGBTQ+ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายเมืองใหญ่มีงาน Pride Parade อย่างเปิดเผย ธุรกิจจำนวนไม่น้อยก็ใช้ความหลากหลายทางเพศเป็นจุดขายทางการตลาด และสื่อบันเทิงไทยก็เต็มไปด้วยตัวละครและนักแสดง LGBTQ+ ที่ได้รับความนิยม    อย่างไรก็ตาม ภายใต้ฉากหน้าแห่งความ “เปิดกว้าง” นี้ กลับยังมีความเหลื่อมล้ำในหลายมิติที่ถูกมองข้าม หรือไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมาแก้ไขอย่างจริงจัง     จำนวนเพิ่มขึ้น สะท้อนการยอมรับ…แต่แค่บางมิติ จากข้อมูลของหลายองค์กรและการสำรวจทางสังคม จำนวนผู้ที่ระบุอัตลักษณ์ทางเพศนอกเหนือจากชายหญิงเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Z และ Gen Alpha ที่เติบโตมากับแนวคิดความหลากหลายทางเพศที่เปิดกว้าง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ไม่ได้สะท้อนความปลอดภัยหรือความมั่นคงทางสิทธิ์ในชีวิตประจำวันของคน LGBTQ+ แต่อย่างใด จากการสำรวจโดยองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ที่แสดงออกและระบุอัตลักษณ์ว่าเป็น LGBTQ+ ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุ 15–35 […]

LBTQ+ ไทย 2025: คนเพิ่ม เสียงยังเบา Read More »

อคติซ้อนอคติ : วงจรเงียบของการตีตราภายในชุมชนหลากหลายทางเพศ

“โอ้ย!!! ถ้าเรื่องถูกบูลลี่ก็มีบ้าง แต่ไม่ค่อยมีจากคนอื่นหรอก จะมีก็แต่พวกกระเทยด้วยกันนั่นแหล่ะที่บูลลี่กันเอง”    ผู้เขียนมีโอกาสจดบันทึกในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth Interveiw) ในเรื่องการตีตรา หรือ Stigma ในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยชื่อดังทางภาคเหนือ ในคำถามหนึ่งผู้สัมภาษณ์ได้คุยกับผู้ถูกสัมภาษณ์และถามเจาะตรงไปถึงเรื่องการถูกรังแกอันเนื่องมาจากเหตุแห่งเพศ  คำตอบของกลุ่มเป้าหมายท่านนี้ และอีกหลายๆ คนที่ตอบในทำนองคล้ายกัน ทำให้ฉุกคิดถึงปรากฎการณ์ในช่วงนี้ที่สถานบันเทิงสำหรับหญิงรักหญิงแห่งหนึ่งจัดโฆษณากิจกรรม “วันเลสฯ ล้วน” ด้วยข้อความที่ว่า “มีบาร์สำหรับเลสเบี้ยนแล้วรู้ยัง ไม่มีทอมหรือทรานส์แมนให้กังวลด้วย”  (ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/1Fr5qAMBiy/?mibextid=wwXIfr)  ในช่วงก่อนหน้าไม่นาน มีการนำเสนอถึงกลุ่มสังคมหญิงรักหญิงด้วยกันที่พูดถึงผู้หญิงที่เป็นไบเซ็กช่วลว่า “โลเล ไม่เลือกสักทาง” หรือ “เดี๋ยวก็กลับไปคบผู้ชาย” ด้วยน้ำเสียงเชิงกีดกัน (ที่มา: https://hon.co.th/bisexual/)  ปรากฎการณ์ดังกล่าวยังสะท้อนถึง “การตีตรา” และ “เลือกปฏิบัติ” แม้แต่ในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศด้วยกันเอง ไม่ต่างจากสังคมในส่วนอื่นๆ ที่ก็มองเข้ามายังกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศด้วยอคติ ตีตรา และเลือกปฏิบัติ หลายกรณียังส่งผลไปสู่การรังแก ทำร้ายร่างกายและจิตใจ ฯลฯ ด้วยวิธีการต่างๆ ความหมายอย่างย่อของการตีตราและการเลือกปฏิบัติ การตีตรา (Stigma) หมายถึง การที่บุคคลหรือกลุ่มคนถูกมองว่า “มีข้อเสีย” หรือ “แตกต่างจากคนทั่วไป”

อคติซ้อนอคติ : วงจรเงียบของการตีตราภายในชุมชนหลากหลายทางเพศ Read More »

ยิ้มให้ แต่ไม่ให้สิทธิ์ : หญิงไบเซ็กช่วลในโลกที่ไม่อยากให้เธอเลือกทางเอง”

“เป็นผู้หญิงก็โดนมองเบา เป็นไบก็โดนหาว่าโลเล อยู่ตรงกลางของโลกที่ไม่มีใครอยากให้เรายืนอยู่ตรงนั้น” ไม่นานมานี้มีข่าวคราวของดาราสาวชื่อดังประกาศมีสัมพันธ์รักกับดาราสาวที่อายุน้อยกว่าอีกท่านหนึ่งราวๆ 2 ปี  แต่หลังจากพวกเธอเลิกรากัน กลับพบคอมเมนต์ในหลายเว็บไซต์กลับกล่าวหาดาราท่านนี้และตัดสินรสนิยมทางเพศของเธอ เช่น “หลับตาก็รู้ว่าชอบผู้ชาย” หรือ “นึกว่าเป็น LBTQ งง กลับใจอีกแล้ว” ฯลฯ  ความคิดเห็นเหล่านี้สะท้อนถึงอคติที่มีต่อผู้ที่มีรสนิยมไบเซ็กชวลในสังคม กรณีนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของปรากฎการณ์ที่นอกเหนือไปจาก โฮโมโฟเบีย แต่เกิดคำเรียกที่ว่า  ไบโฟเบีย (Biphobia) หรือความเกลียดกลัวไบเซ็กชวล ที่ยังคงมีอยู่ในสังคมไทย ผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์กับทั้งผู้ชายและผู้หญิงมักถูกมองว่าโลเล หรือไม่จริงใจ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและการยอมรับตัวตนของพวกเธอ และเป็นที่น่าสนใจว่าคำตัดสินถึงรสนิยมทางเพศแบบไบเซ็กชวลของดาราท่านนี้เกิดขึ้นในคอมมูนิตี้หญิงรักหญิงด้วยกันเอง    (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://themomentum.co/gender-bisexual)  ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับไบเซ็กชวล (Bisexuality) อาจไม่ใช่แค่เรื่องของความสับสน แต่เป็นภาพจำผิดๆ ที่ฝังลึกในโครงสร้างทางวัฒนธรรมและความคิดของสังคม อคติเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มคนทั่วไปเท่านั้น แต่ยังแทรกซึมอยู่แม้กระทั่งในคอมมูนิตี้ LGBTQ+ เอง ซึ่งควรจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกความหลากหลายทางเพศ หนึ่งในอคติที่พบได้บ่อยคือการมองว่า “ไบคือคนโลเล” หรือ “เลือกไม่ได้เลยเลือกทั้งสอง” ซึ่งสะท้อนถึงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวตนของคนที่รักได้มากกว่าหนึ่งเพศ มันไม่ใช่การลังเล ไม่ใช่การเอาเปรียบ และไม่ใช่การเปลี่ยนใจไปมา แต่มันคืออัตลักษณ์ทางเพศที่มั่นคงและแท้จริง  เพียงแค่ยังไม่เป็นที่เข้าใจ ในบางกรณี ไบเซ็กชวลยังถูกตีตราว่าเป็น “ช่วงเปลี่ยนผ่าน”

ยิ้มให้ แต่ไม่ให้สิทธิ์ : หญิงไบเซ็กช่วลในโลกที่ไม่อยากให้เธอเลือกทางเอง” Read More »

LGBTQ Retreat : พักผ่อน เติมเต็ม และเติบโต 

การพักผ่อน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจของทุกคนได้ดียิ่ง โดยเฉพาะกลุ่ม LGBTQ ซึ่งอาจต้องเผชิญกับความเครียดที่แตกต่างออกไป  ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับอคติทางสังคม การต่อสู้เพื่อการยอมรับทั้งในตัวเอง เพื่อนฝูง ครอบครัว  การให้เวลากับตัวเองเพื่อการพักผ่อนและทบทวนสุขภาวะของเราจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก การพักผ่อนกับ Retreat แตกต่างกันอย่างไร ทำไม Retreat จึงมีความสำคัญ แม้ว่าการพักผ่อนและ Retreat อาจดูเป็นแนวคิดที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองอย่างมีความเชื่อมโยงกัน  จะเห็นได้ว่า การพักผ่อนหมายถึงการให้ร่างกายและจิตใจได้หยุดพักจากความเครียดและความวุ่นวายในชีวิตประจำวัน ขณะที่ Retreat เป็นการพักผ่อนในเชิงลึก ที่มีการตั้งใจจัดสรรเวลาเพื่อฟื้นฟูสุขภาพจิตใจ อารมณ์ และพลังงานของตัวเอง สร้างสมดุลระหว่างชีวิต การพักผ่อน และการ Retreat  ในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วและเต็มไปด้วยความเร่งรีบ การสร้างสมดุลระหว่างชีวิต การทำงาน และการพักผ่อนกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง หลายคนมุ่งมั่นทุ่มเทให้กับงานหรือภาระหน้าที่จนละเลยการดูแลตนเอง ส่งผลให้เกิดความเครียดและความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ การมีเวลาสำหรับการพักผ่อนอย่างเหมาะสม ไม่เพียงช่วยฟื้นฟูพลังงาน แต่ยังเสริมสร้างสุขภาพและความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย หนึ่งในแนวทางที่ได้รับความนิยมมากขึ้นคือการ Retreat หรือการถอยกลับไปใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและมีสติ อาจเป็นการเดินทางไปสถานที่เงียบสงบ การปลีกตัวจากเทคโนโลยี หรือการฝึกสมาธิเพื่อเติมเต็มพลังชีวิต การ Retreat ไม่ใช่เพียงแค่การพักผ่อน แต่เป็นกระบวนการฟื้นฟูและทบทวนตัวเองอย่างลึกซึ้ง ซึ่งช่วยให้เรากลับมามีสมดุลและพร้อมเผชิญกับความท้าทายของชีวิตด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งขึ้น การสร้างสมดุลที่ดีระหว่างงาน การพักผ่อน และการ

LGBTQ Retreat : พักผ่อน เติมเต็ม และเติบโต  Read More »

พื้นที่ปลอดภัยที่รู้สึกเหมือนบ้าน

ทุกคนล้วนต้องการสถานที่ที่ทำให้รู้สึกปลอดภัย อบอุ่น และเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เราอาจเรียกสถานที่เช่นนี้คือ “พื้นที่ปลอดภัย” ที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านจริง ๆ หรือสถานที่อื่นๆ ที่ทำให้เรารู้สึกว่าได้รับการยอมรับและสามารถเป็นตัวเองได้ เครือข่ายสุขภาพและโอกาส (Health and Oppitunity Network) หรือที่กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในพัทยารู้จักกันดีในชื่อของ HON โดย ทฤษฎี สว่างยิ่ง บงกช บุญประสาน สนธยา ห้วยหงส์ทอง  กุสุมา จันทร์มูล  และอาสาสมัคร LBTQ อีกหลายท่านช่วยกันเนรมิตสถานที่แห่งนี้ให้เป็นสถานที่สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันในนาม HON BKK  และในวันที่ 16 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา HON BKK ได้มีโอกาสเปิดบ้านต้อนรับผู้ที่มาเยี่ยมเยียนเป็นครั้งแรก  Open House – วันเปิดบ้าน เมื่อเดินผ่านประตูรั้วสีเขียวเข้ามาในบริเวณบ้าน ทุกคนต่างประทับใจกับสนามหญ้าสีเขียวที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี หลายคนอุทานว่า “น่ามากางเต๊นส์นอนกลางสนาม”       นอกจากสีเขียวของสนามหญ้า เราจะเห็นตัวบ้านไม้สีเหลืองอยู่ท่ามกลางต้นไม้ เป็นรูปแบบบ้านที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยและคุ้นตาในวัยเด็ก   ในเรื่องนี้บ้านหลังนี้ ทฤษฎี สว่างยิ่ง ผู้อำนวยการเครือข่ายสุขภาพและโอกาส

พื้นที่ปลอดภัยที่รู้สึกเหมือนบ้าน Read More »

10 ประเด็นทางสังคมและปัญหาที่ LGBTQ ทั่วโลกเผชิญ

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา สิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ได้รับการยอมรับมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในด้านกฎหมายและสังคม อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด แต่ชุมชน LGBTQ ยังคงเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรคมากมายที่สะท้อนถึงปัญหาทางสังคม วัฒนธรรม และโครงสร้างทางกฎหมายที่ยังคงเลือกปฏิบัติในหลายพื้นที่   ปัญหาที่กลุ่ม LGBTQ ต้องเผชิญมีหลากหลายแง่มุม ตั้งแต่การถูกกีดกันในครอบครัวและสังคม การถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน ไปจนถึงการขาดสิทธิทางกฎหมายที่เท่าเทียมกับคนรักต่างเพศ ในบางประเทศ คนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศและรสนิยมทางเพศที่แตกต่างยังคงต้องเผชิญกับการลงโทษทางกฎหมาย การเลือกปฏิบัติ และความรุนแรงที่เกิดจากความเกลียดชัง (hate crimes)    แม้แต่ในประเทศที่มีกฎหมายรองรับสิทธิ LGBTQ แล้ว อคติและทัศนคติแบบเหมารวมยังคงเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดการกีดกันในระดับสังคม นอกจากนี้ สุขภาพจิตของคนในกลุ่ม LGBTQ ก็เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากพวกเขามีแนวโน้มเผชิญกับความเครียด วิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าจากแรงกดดันทางสังคม รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพและการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม   เราจะพาไปสำรวจ 10 ประเด็นทางสังคมและปัญหาสำคัญที่ LGBTQ ทั่วโลกเผชิญ เพื่อให้เห็นถึงอุปสรรคที่ยังคงมีอยู่ และสะท้อนถึงความจำเป็นในการสร้างสังคมที่เท่าเทียมและครอบคลุมสำหรับทุกคน 1. การเลือกปฏิบัติและการขาดสิทธิทางกฎหมาย 1.1 บางประเทศยังคงมีกฎหมายที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แม้ว่าหลายประเทศทั่วโลกจะมีการพัฒนาในด้านสิทธิของ LGBTQ+ มากขึ้น แต่ในบางประเทศกลับยังมีกฎหมายที่กำหนดให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในบางพื้นที่ของแอฟริกา

10 ประเด็นทางสังคมและปัญหาที่ LGBTQ ทั่วโลกเผชิญ Read More »

ความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน :  การสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อ  LGBTQIAN+

สำหรับองค์กรสมัยใหม่  ความมุ่งมั่นในการสนับสนุนความหลากหลายทางเพศผ่านนโยบายที่ครอบคลุมและกิจกรรมที่ส่งเสริมความหลากหลาย สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร แต่ยังช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า เช่นเดียวกับที่องค์กรชั้นนำอย่าง Google, Microsoft, และ Unilever ได้แสดงให้ชาวโลกเห็นเป็นแบบอย่าง แน่นอนว่าองค์กรต่างๆ ในประเทศไทยเองก็มีความพยายามที่จะมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน แต่ก็มักจะพบว่าเป็นเพียงนโยบายที่ยังไม่ครอบคลุมไปถึงการปฏิบัติ กิจกรรมที่ส่งเสริมความหลากหลายก็ยังไม่มีความชัดเจนมากพอที่จะเป็นองค์กรตัวอย่างให้พูดถึงได้ หรือแม้จะมีก็อาจจะเป็นเพียงการสร้างภาพแต่เพียงภายนอก ที่มีเพียงคนภายในเท่านั้นที่รู้ว่านโยบายเช่นนี้เอาไว้ขายภาพลักษณ์ให้กับคนภายนอก แม้แต่องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับวงการบันเทิงที่สังคมไทยยอมรับว่าน่าจะเป็นองค์กรแรกๆ ที่ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศผ่านผลงานที่เป็นหนัง ละคร การแสดงต่างๆ แต่การทำงานภายในและการบริหารก็ยังไม่ได้ปรับตัวตามจนมีข่าวเล็ดลอดออกมาภายนอกอยู่บ่อยครั้ง    ความท้าทายขององค์กรสมัยใหม่ ในการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงานกลายเป็นประเด็นสำคัญในองค์กรที่ต้องการสร้างความยุติธรรมและความหลากหลาย กลุ่ม LGBTQIAN+  เป็นหนึ่งในกลุ่มที่เผชิญกับความท้าทายอย่างมากในสถานที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการถูกเลือกปฏิบัติ  การไม่มีโอกาสที่เท่าเทียม หรือการขาดพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงตัวตน การสร้างความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงานสำหรับกลุ่ม LGBTQIAN+ จึงเป็นก้าวสำคัญที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ ความสำคัญของความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน 1 ดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ องค์กรที่แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนความเท่าเทียมจะมีโอกาสดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพสูงจากหลากหลายพื้นเพมาร่วมงาน และยังช่วยลดอัตราการลาออกของพนักงาน 2 ส่งเสริมความหลากหลาย การยอมรับในความแตกต่างของพนักงานจะช่วยเพิ่มมุมมองที่หลากหลายในการแก้ปัญหาและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ 3 ดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ องค์กรที่แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนความเท่าเทียมจะมีโอกาสดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพสูงจากหลากหลายพื้นเพมาร่วมงาน และยังช่วยลดอัตราการลาออกของพนักงาน ความท้าทายที่กลุ่ม LGBTQIAN+ เผชิญในที่ทำงาน 1 การเลือกปฏิบัติทางเพศ พนักงาน LGBTQIAN+ หลายคนยังคงเผชิญกับการเลือกปฏิบัติ เช่น การไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งหรือการถูกล้อเลียนในที่ทำงาน 

ความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน :  การสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อ  LGBTQIAN+ Read More »

“บ้าน HON โฉมใหม่กับมาตรา 3: ก้าวสำคัญของระบบสุขภาพไทย”

ทำความรู้จักบ้าน HON หลังใหม่   บ้านสองชั้นสีเหลืองหน้าบ้านมีเทอเรซ  เป็นแบบบ้านทรงนิยมตลอดกาล รอบๆ ประกอบไปด้วยสนามหญ้าและต้นไม้สร้างความร่มรื่นให้แก่ตัวบ้านเป็นอย่างมาก  ถัดไปภายในเป็นพื้นที่สำหรับนั่งเล่น หรือทำกิจกรรมต่างๆ  ส่วนด้านบนสามารถปรับแต่งเป็นทั้งห้องประชุมหรือห้องพักได้ตามสถานการณ์     บ้านใหม่ในย่านวงศ์สว่างแห่งนี้ กำลังจะกลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของ HON (เครือข่ายสุขภาพและโอกาส Health and Opportunity Network) แรกเริ่มเดิมที HON มีพื้นที่ทำงานหลักอยู่ที่พัทยา เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มน้องๆ   กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะกลุ่มหญิงข้ามเพศ และพนักงานบริการ โดยมีบทบาทในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและการเข้ารับการรักษา และบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มานานกว่า 10 ปี  ในปี 2568 นี้ บ้าน HON ขยับเพิ่มขึ้นหลังหนึ่ง ณ กรุงเทพฯ  HON BKK หน่วยบริการมาตรา 3   ข้อมูลจาก รศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  กล่าวว่า  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยกลุ่มภารกิจสนับสนุนการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิ ได้มีการประสานการดำเนินงานร่วมกับองค์กรภาคประชาชนในด้านต่างๆ พร้อมสนับสนุนการร่วมจัดบริการและขึ้นทะเบียนเป็น

“บ้าน HON โฉมใหม่กับมาตรา 3: ก้าวสำคัญของระบบสุขภาพไทย” Read More »

Sex, Gender, Identity

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แนวคิดเกี่ยวกับเพศไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ “ชาย” หรือ “หญิง” อีกต่อไป อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) เพศสภาพ (Gender) และเพศวิถี (Sexual Orientation) เป็นแนวคิดสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจความหลากหลายของมนุษย์มากขึ้น จากกรอบคิดแบบดั้งเดิมที่ผูกเพศกับชีววิทยา วันนี้เราได้เรียนรู้ว่าเพศเป็นสิ่งที่มีมิติทางสังคม วัฒนธรรม และปัจเจกบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง LBQ+ Well Being จะทดลองพาพวกเราไปสำรวจแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเพศ พร้อมทั้งเจาะลึกถึงบทบาทของสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อการกำหนดอัตลักษณ์ทางเพศและเพศวิถี เราจะถอดรหัสความเข้าใจผิดที่พบบ่อย และเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับโลกที่เปิดกว้างขึ้นสำหรับทุกอัตลักษณ์ทางเพศ เพราะท้ายที่สุดแล้ว เพศไม่ใช่แค่เรื่องของร่างกาย แต่เป็นเรื่องของตัวตนและการยอมรับในความเป็นมนุษย์  ความหมายของ Sex, Gender และ Identity   •Sex (เพศกำเนิด): อ้างอิงถึงลักษณะทางชีววิทยาของบุคคล เช่น โครโมโซม ฮอร์โมน และลักษณะทางกายภาพที่ถูกกำหนดตั้งแต่เกิด •Gender (เพศสภาพ): บทบาท บรรทัดฐาน และความคาดหวังทางสังคมที่กำหนดให้กับเพศชายและเพศหญิง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม •Gender Identity (อัตลักษณ์ทางเพศ): ความรู้สึกภายในของบุคคลว่าตัวเองเป็นเพศใด ซึ่งอาจสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด อัตลักษณ์ทางเพศและความหลากหลายของเพศสภาพ •Binary

Sex, Gender, Identity Read More »

ความเท่าเทียมในทางปฏิบัติ  สิทธิมนุษยชนของ LBQ

สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญต่อการดำรงชีวิตของทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา เพศ แต่จากการสำรวจข้อมูลและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกลุ่ม LBQ (เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล เควียร์) ยังคงพบว่าคนกลุ่มนี้ประสบปัญหาการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน  ที่สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม ในกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อสุขภาวะของ LBQ ได้นำประเด็นความรู้และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีการเลือกปฏิบัติหรือการละเมิดสิทธิมนุษชน รวมไปถึงกลไกการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ LBQ ควรรู้และนำไปปฏิบัติได้ สำหรับความเข้าใจพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่ม LBQ นั้น เป็นเรื่องของการปฎิบัติอย่างเท่าเทียมในทุกด้านของชีวิตโดยปราศจากการเลือกปฎิบัติหรือการถูกละเมิด เช่น       – สิทธิในการมีชีวิตที่ปลอดภัย หมายถึง ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้โดยปราศจากการถูกคุกคาม หรือการใช้ความรุนแรง อันเนื่องมาจากความเป็นเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศ       -สิทธิในการแสดงออกถึงตัวตน หมายถึงสามารถแสดงตัวตนทางเพศได้โดยปราศจากความกลัวหรือการกีดกัน       -สิทธิในการเข้าถึงการศึกษา หมายถึงรัฐรับรองสิทธิการศึกษาให้เป็นการศึกษาฟรีที่ทุกคนต้องได้รับ 15 ปี ตั้งแต่อนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3      -สิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งและที่ขึ้นทะเบียนไว้กับรัฐ และการเป็นสิทธิที่ต้องได้รับการบริการที่เหมาะสมโดยไม่มีอคติ      -สิทธิในความเท่าเทียมทางกฎหมาย  หมายถึงการเข้าถึงสิทธิต่างๆ เช่น การคุ้มครองในที่ทำงาน การแต่งงาน

ความเท่าเทียมในทางปฏิบัติ  สิทธิมนุษยชนของ LBQ Read More »