อัตลักษณ์ และ อัตลักษณ์ทับซ้อน

อัตลักษณ์ และ อัตลักษณ์ทับซ้อน

ผู้หญิงที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อน เช่น เป็นผู้หญิง อายุน้อย และมีความหลากหลายทางเพศ เมื่อไปอยู่ท่ามกลางการทำงานแบบวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ ความพยายามที่จะต่อสู้ ส่งเสียง มักจะไม่ถูกได้ยิน มันไม่ง่ายเลย โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชาย ที่มีอายุมากกว่าและมีรสนิยมทางเพศแบบรักต่างเพศ เวลาที่เราเห็นความไม่เป็นธรรมทางเพศในการทำงาน ทำให้เรามีมุมมองในการทำงานที่แตกต่างออกไป”   

มัจฉา พรอินทร์  นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงความหมายของคำว่า อัตลักษณ์ทับซ้อนไว้อย่างน่าสนใจ

อัตลักษณ์ และ อัตลักษณ์ทับซ้อน

คำว่า อัตลักษณ์ คือ ความเป็นตัวตน ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลหรือกลุ่มคน ทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เช่น อัตลักษณ์ทางเพศ สีผิว ระดับการศึกษา ชาติพันธุ์ ส่วนอัตลักษณ์ทับซ้อน (Intersectionality) คือการที่คนคนหนึ่งอยู่กับการกดทับในสังคมมากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น เป็นบุคคลข้ามเพศที่ยากจน ทำให้จากที่ยิ่งเข้าถึงการรับบริการทางสุขภาพด้านการข้ามเพศยากอยู่แล้ว ยิ่งยากขึ้นไปอีก เพราะขาดทุนทรัพย์และแหล่งรายได้ที่มั่นคง  การอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อเข้ารับการบริการต้องเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการขาดการศึกษา ชาติพันธุ์ที่โดนกดทับ และศาสนาที่ไม่ยอมรับบางอัตลักษณ์  ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอัตลักษณ์ทับซ้อนทั้งสิ้น

ข้อมูลจาก  feminista.in.th ได้อธิบายอัตลักษณ์ของผู้หญิงชนเผ่าปกาเกอญอ อาศัยอยู่บนดอยสูงทางภาคเหนือ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ผู้หญิงคนนี้จึงเป็นตัวแทนของความมีอัตลักษณ์ที่ทับซ้อน ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคมหลายด้าน ดังนี้ 

ด้านที่ดินทำกิน  จากความเป็นคนไร้สัญชาติ ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ชาวปกาเกอญอจะอาศัยอยู่บนดอยสูง ซึ่งมักจะมีการประกาศเขตอุทยานทับที่ทำกิน (ประกาศเขตอุทยาน ปี พ.. 2535 แต่ชาวปกาเกอญอ หรือชนเผ่าพื้นเมือง อาศัยอยู่มานานหลายรุ่น)  หลายพื้นที่ในประเทศไทยจึงเกิดข้อพิพาทด้านที่ทำกินกับชนเผ่าพื้นเมืองมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

 

ด้านการศึกษา เนื่องจากการไม่มีสัญชาติในครอบครัว ทำให้มีปัญหาด้านการทำเอกสารกับทางราชการ ส่งผลต่อการสมัครเข้าโรงเรียนของลูกๆ ไปด้วย เป็นต้น 

 

ด้านการเดินทาง  จากการไร้สัญชาติ ไม่มีบัตรประชาชน ชนเผ่าพื้นเมืองก็ไม่สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่ได้

 

ด้านสังคม ถูกล้อเลียนจากการพูดภาษากลางไม่ชัด และการถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนจากการเป็นชนเผ่า

 

ด้านการเมือง จากการไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งหรือลงชื่อในการแก้กฎหมายต่างๆ

 

ด้านเศรษฐกิจ  เมื่อไม่มีบัตรประชาชน จึงมักถูกกดค่าแรง เป็นแรงงานไร้ฝีมือ หรือเป็นแรงงานนอกระบบ   ไม่มีสวัสดิการคุ้มครอง 

 

ด้านเพศ ถูกคนในชุมชนรังเกียจเพราะเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ  อาจถูกขับไล่จากชุมชน เสี่ยงต่อการถูกบังคับแต่งงาน ใช้ความรุนแรงจากสามี พ่อ และผู้ชายในสังคมชนเผ่า

 

ด้านกระบวนการยุติธรรม  การเข้าไม่ถึงการช่วยเหลือด้านกฎหมาย จากปัญหาด้านการศึกษา   และอคติจากเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ต้องการทำคดีให้

อัตลักษณ์และ LGBTQ+ : การค้นหาตัวตนและความหมายในสังคม

อัตลักษณ์หรือ Identity เป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้ว่าเราเป็นใคร มีความเชื่อ ความคิด และค่านิยมอย่างไร ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการแสดงออกและการดำรงอยู่ในสังคม สำหรับกลุ่มบุคคล LGBTQ+ การกำหนดอัตลักษณ์ของตนเองไม่ใช่เพียงแค่การแสดงความชอบหรือการเลือกเพศสภาพ แต่เป็นเรื่องของความรู้สึกที่แท้จริงในสิ่งที่ตัวเองเป็น และความต้องการที่จะได้รับการยอมรับและเข้าใจในฐานะที่ตนเป็น


ในสังคมที่บางครั้งยังมีการเลือกปฏิบัติ การกำหนดอัตลักษณ์ทางเพศในกลุ่ม LGBTQ+ อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย การต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ยอมรับจากครอบครัว เพื่อนฝูง และสังคม ทำให้การค้นหาตัวตนมีความสำคัญมากขึ้น และอัตลักษณ์ทางเพศก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกกำหนดจากเพศกำเนิดเสมอไป มันสามารถเป็นการเลือก การยอมรับตนเอง และการแสดงออกในแบบที่ทำให้บุคคลรู้สึกสบายใจและเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง

สำหรับ LGBTQ+ บางคน การค้นพบว่าเป็น LGBTQ+ เป็นการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ค้นหาตัวเองในมุมมองที่ลึกซึ้งและหลากหลายขึ้น สิ่งนี้มีบทบาทในการสร้างเสริมความมั่นคงทางจิตใจและการรู้สึกว่ามีคุณค่า

อัตลักษณ์และการยอมรับทางสังคม

การยอมรับตัวตนของ LGBTQ+ ในสังคมเป็นอีกเรื่องที่สำคัญในประเด็นของอัตลักษณ์ สังคมที่ยอมรับ LGBTQ+ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ จะทำให้ผู้คนสามารถแสดงตัวตนได้อย่างเปิดเผย การยอมรับนี้มีผลสำคัญต่อสุขภาพจิตและความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง เพราะเมื่อบุคคลรู้สึกได้รับการยอมรับ ก็มีความมั่นใจในการเป็นตัวเองมากขึ้น

ในหลาย ๆ ประเทศได้ก้าวหน้าในการยอมรับ LGBTQ+ และมีนโยบายที่สนับสนุนสิทธิเสรีภาพในเรื่องของการแต่งงาน การยอมรับทางกฎหมาย และการป้องกันการเลือกปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่หรือบางวัฒนธรรม อาจยังมีอุปสรรคด้านการยอมรับ ซึ่งสามารถเป็นการบั่นทอนอัตลักษณ์ของ LGBTQ+ ได้

ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์และสิทธิมนุษยชน

การกำหนดอัตลักษณ์ของ LGBTQ+ นั้นสัมพันธ์กับสิทธิมนุษยชนด้วย เนื่องจากการยอมรับตัวตนที่แท้จริงของบุคคลหมายถึงการที่สังคมและรัฐบาลยอมรับความแตกต่างของบุคคล LGBTQ+ มีสิทธิที่จะเป็นตัวเองโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ผิดปกติ

หลายองค์กรทั่วโลกได้สนับสนุนการยอมรับและการปกป้องสิทธิของ LGBTQ+ ซึ่งส่งผลให้บุคคลสามารถมีเสรีภาพในการกำหนดอัตลักษณ์ของตนเองอย่างเต็มที่ นี่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมที่เคารพในความหลากหลายและความเท่าเทียม


อัตลักษณ์ในกลุ่ม LGBTQ+ เป็นมากกว่าการระบุเพศหรือรสนิยมทางเพศ มันเกี่ยวข้องกับการยอมรับตัวเอง ความมั่นใจ และความสุขในสิ่งที่ตัวเองเป็น แม้ว่าอาจยังมีความท้าทายในการแสดงตัวตนในสังคม แต่ก็มีสัญญาณที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้าในด้านการยอมรับ LGBTQ+ ในหลายประเทศ การเคารพและยอมรับอัตลักษณ์ของ LGBTQ+ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสังคมที่เป็นมิตรกับทุกคน

ข้อมูลจาก https://roottogether.net/life-balance-and-fairness/indentity/ 

 

กล่าวถึงอัตลักษณ์ชายขอบ  คือการถูกปิดกั้น/ผลักให้ออกจากระบบต่างๆ ในสังคม ทำให้ไม่มีสิทธิและโอกาสหลายอย่างในชีวิต ไม่เท่าเทียมกับคนอื่น  

 

ตัวอย่างเช่น ชาติพันธุ์มาลายู ภูเขา ไทยอีสาน ชาวเล แรงงานข้ามชาติ คนพิการ คนไร้บ้าน LGBT คนจน ผู้หญิง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี คนที่มีคดี ติดคุก เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ  ฯลฯ ที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการ เข้าไม่ถึงระบบของรัฐ บริการด้านสุขภาพ การศึกษาฯ

โครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมในสังคมเช่น   วัฒนธรรมประเพณี กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ ศาสนา ครอบครัว ระบบการเมืองการปกครอง ฯลฯ   มีส่วนในการ ปิดกั้น กีดกัน ผู้ที่มีอัตลักษณ์ชายขอบ  มีโอกาสถูกกระทำความรุนแรงในหลายรูปแบบ ทั้งที่มองเห็น และมองไม่เห็น

 

 ต้วอย่างข้างต้น รวมถึงตัวอย่างของผู้หญิงปกาเกอญอและการยกตัวอย่างจากมัจฉา  พรอินทร์สะท้อนให้เห็นความเป็นคนชายขอบจากความเป็นอัตลักษณ์ทับซ้อนที่ค่อนข้างชัดเจน  และยังมีอีกหลายร้อยกรณีที่อาจพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยเช่นกัน

 

เมื่อเราเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และอัตลักษณ์ทับซ้อน จะทำให้กรอบการมองของเรากว้างขึ้น และเราเห็นสิ่งใดแล้ว จะไม่ด่วนตัดสิน หรือ ตีตรา หรือเลือกปฏิบัติอย่างไม่ตั้งใจได้ในที่สุด

 

ข้อมูลจาก : 

 

-LBT Well Being

https://www.feminista.in.th/post/feminista-knowledge-intersectionality

 

-รายงานการศึกษารูปแบบการสนับสนุน LGBTI+ และ 4P  – โครงการพัฒนาข้อเสนอแนะต่อการพัฒนารูปแบบและระบบการสนับสนุนสมาชิกครอบครัว เพื่อน คู่ชีวิต และ ผู้ให้บริการสุขภาพเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของประชากรกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

 

-สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)    

 

-thailandsocialinnovationplatformorg/