
ไม่ได้รับการยอมรับ ถูกตีตรา ถูกเลือกปฏิบัติ
การทำกฎหมาย นโยบาย บริการต่างๆ
ก็ไปนับรวม LBT ไว้กับกลุ่มอื่น ยิ่งไม่เข้าใจ ปัญหาของ LBT ก็ยิ่งไม่ถูกแก้ไข"

ทฤษฎี สว่างยิ่ง จากเครือข่ายสุขภาพและโอกาส ที่ทำโครงการ LBT Wellbeing เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม LBT (L : Lesbian, B: Bisexual, T : Transgender, Tomboy) ไปพร้อมกับการทำงานเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับกลุ่ม LBT เล่าถึงการทำงานในช่วงปี 2566 ถึงต้นปี 2567 ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.
ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่ามีกลุ่ม LBT อยู่มากมาย แต่การที่คนกลุ่มนี้จะออกมาพูดหรือบอกเล่าปัญหาของตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ดังนั้นสิ่งแรกคือการศึกษาวิจัยเพื่อทำเป็นข้อมูลยืนยันว่า ปัญหาต่างๆ ไม่ได้เกิดจากการคิดไปเอง
และแล้วจากการค้นหาข้อมูลด้วยการทำงานศึกษาวิจัย ทั้งสัมภาษณ์เชิงลึก ที่ต้องใช้นักวิจัยที่มีมุมมองของ feminism อย่างนักวิจัยอย่าง ดาราณี ทองศิริ และการเก็บข้อมูลแบบกลุ่ม (Focus group) ทั้งกับกลุ่มอายุที่อยู่ในยุคสมัยที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ และกลุ่มผู้สูงอายุ รวมทั้งกลุ่มที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อนอย่าง LBT ในกลุ่มคนพิการ และกลุ่มอาชีพที่ทำงานกลางคืนอย่าง LBT ที่ทำงานบาร์โฮส (อ่านงานวิจัย : )

ข้อมูลจากงานวิจัย ยืนยันให้เห็นว่า การไม่ได้รับการยอมรับ การถูกตีตรา และถูกเลือกปฏิบัติ เกิดขึ้นในทุกระดับ ตั้งแต่การตีตราตัวเอง ไม่ยอมรับตัวเอง การไม่ถูกยอมรับจากครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ที่ทำงาน สังคม การไม่ถูกยอมรับเหล่านี้ส่งผลกระทบที่เป็นปัญหาด้านความรุนแรง ตั้งแต่การทำร้ายตัวเอง ความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในโรงเรียน ในที่ทำงาน และในสังคม ซึ่งเป็นความรุนแรงทั้งทางด้านร่างกายคือทำร้ายร่างกาย และความรุนแรงทางจิตใจ ทั้งที่ทำให้โดดเดี่ยว ถูกกดดัน จนเกิดอาการซึมเศร้า ใช้แฮลกอฮอล์และสารเสพติด ไปจนถึงคิดฆ่าตัวตาย
ยิ่งต้องเจอกับปัญหาเหล่านี้ LBT จึงไม่อยากเปิดเผยตัวเอง ซ่อนตัวเอง อยู่เงียบๆ ไม่ให้ถูกพูดถึง ก็ยิ่งถูกมองไม่เห็น การถูกตีตรา การเลือกปฎิบัติก็ยังคงดำเนินอยู่ สิทธิและเสียงที่พึงมีก็ยิ่งลดน้อยถอยลง จนส่งผลไปถึงการออกกฎหมาย การทำนโยบาย หรือแม้แต่การให้บริการต่างๆ ก็มองไม่เห็นคนกลุ่มนี้ และนำไปรวมกับกลุ่มอื่นๆ ที่เสียงดังกว่า แม้แต่ในกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่ม LBT ก็ยังเป็นเสียงเงียบ ที่ไม่ได้รับการให้บริการที่ครอบคลุมไปถึง
ทฤษฎี กล่าวถึงการทำงานของโครงการ ที่มีการค้นหากลุ่ม LBT ให้เดินออกมาจากพื้นที่ของตัวเองเข้าสู่กลุ่มที่เป็นพื้นที่ปลอดภัย เสริมอำนาจภายในให้เขาเข้มแข็ง และทำความเข้าใจกับบริบทของการไม่ยอมรับที่นำไปสู่การตีตรา การเลือกปฎิบัติ แม้เขายังไม่กล้าส่งเสียงด้วยตัวเองคนเดียวแต่สามารถส่งเสียงเป็นกลุ่มได้ เพื่อให้สังคมได้มองเห็นปัญหาของเขา ได้เข้าใจปัญหาของเขา และใช้ทั้งการสื่อสาร กับกลุ่ม LBT และคนในสังคม
(https://www.facebook.com/LBTWellbeing https://www.youtube.com/@LBTWell-being , https://www.tiktok.com/@lbtwellbeing?lang=th-TH , https://hon.co.th/lbt-well-being-project/ )
การจัดกิจกรรมที่เรียกว่า Group support ค่อยๆ เปิดที่ยืนในสังคม ให้ได้มองเห็น เปิดใจ และทำความเข้าใจกับอัตลักษณ์ของ LBT
ทฤษฏี ได้กล่าวกับเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุม ให้เห็นว่า สิ่งที่โครงการได้ทำมาเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่เปิดการมองเห็นของสังคม และการทำความเข้าใจกับกลุ่มต่างๆ และที่สำคัญคือการก้าวต่อไปที่ต้องการการร่วมคิด ออกแบบวิธีการ และการขยายให้เกิดกลุ่ม เกิดพื้นที่ปลอดภัยมากขึ้น เพื่อให้ LBT ได้ถูกมองเห็น ได้ส่งเสียง และให้ได้รับการยอมรับไปพร้อมกับบุคคลที่ความหลากหลายทางเพศกลุ่มอื่นๆ ลดการตีตรา และการถูกเลือกปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน ได้เข้าถึงการสร้างกฎหมาย การทำนโยบาย เข้าถึงสิทธิการรักษา การบริการสุขภาพเพศ และบริการอื่นๆ ได้อย่างเท่าเทียมกันกับทุกกลุ่ม
ที่มา : จากการประชุม “การประชุมเพื่อหารือแนวทางจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสุขภาวะสำหรับกลุ่ม LBT” วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แจ้งวัฒนะ หลักสี่ กทม.