ผู้พิการ ความเสี่ยงของอัตลักษณ์ทับซ้อน” หมายถึงสถานการณ์ที่ผู้พิการต้องเผชิญอัตลักษณ์ที่ซ้อนทับกัน ซึ่งสร้างความซับซ้อนในการดำรงชีวิตและสร้างโอกาสให้เกิดการเลือกปฏิบัติจากสังคม คนพิการอาจถูกตีกรอบด้วยภาพจำในเชิงลบว่าอ่อนแอ หรือเป็นผู้ที่ต้องพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา การตีกรอบนี้มักทำให้พวกเขาไม่ได้รับโอกาสที่เท่าเทียมในการทำงานหรือการใช้ชีวิตเช่นเดียวกับผู้อื่น
นอกจากนี้ ผู้พิการยังอาจมีอัตลักษณ์อื่นๆ ที่เสี่ยงต่อการถูกกีดกัน เช่น ความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ หรือสถานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับปัญหาที่ซ้อนทับและหลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น การขาดการสนับสนุนที่เพียงพอและการถูกกีดกันทางสังคม การที่สังคมจะพัฒนาความเท่าเทียมจึงต้องให้ความสำคัญกับการยอมรับและเข้าใจมุมมองของผู้พิการ และตระหนักถึงความซับซ้อนของอัตลักษณ์ทับซ้อนที่พวกเขาต้องเผชิญ เพื่อส่งเสริมให้พวกเขามีบทบาทและศักยภาพอย่างเต็มที่ในสังคม
ผู้พิการต้องเผชิญความเสี่ยงของอัตลักษณ์ทับซ้อน ซึ่งเป็นภาวะที่อัตลักษณ์หรือความเป็นตัวตนที่หลากหลายด้านมาทับซ้อนกันจนทำให้ชีวิตของพวกเขามีความซับซ้อนมากขึ้นและอาจเกิดการเลือกปฏิบัติจากสังคม ตัวอย่างของอัตลักษณ์ทับซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่ ผู้พิการที่มีเพศหลากหลาย ผู้พิการที่เป็นชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ และผู้พิการที่มาจากครอบครัวรายได้น้อย การมีอัตลักษณ์หลากหลายนี้ทำให้พวกเขาต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการถูกกีดกันทางสังคมและการขาดโอกาสในชีวิต เช่น โอกาสทางการศึกษา การทำงาน และการได้รับการสนับสนุนจากชุมชน
เมื่อพิจารณาถึงระบบสนับสนุนและบริการทางสังคม จะพบว่ายังขาดความเข้าใจในความซับซ้อนของผู้ที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อน บ่อยครั้งการออกแบบนโยบายและการช่วยเหลือมักมุ่งไปยังกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น การสนับสนุนผู้พิการในด้านการเข้าถึงอาคารสถานที่ แต่ขาดการพิจารณาความหลากหลายด้านอื่นๆ ที่ผู้พิการมีร่วมอยู่ด้วย การมองข้ามนี้ทำให้ผู้พิการที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อนไม่ได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม เช่น ผู้พิการเพศหลากหลายอาจไม่ได้รับการดูแลที่เข้าใจเรื่องเพศสภาพ หรือผู้พิการจากชนกลุ่มน้อยอาจประสบปัญหาการสื่อสารในการรับบริการทางสังคม เป็นต้น
ดังนั้น การพัฒนานโยบายและการสนับสนุนผู้พิการอย่างยั่งยืนจึงควรมีความเข้าใจในบริบทของอัตลักษณ์ทับซ้อนของพวกเขา การให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่ที่ยอมรับความแตกต่างและความหลากหลายนี้เป็นหัวใจสำคัญในการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของผู้พิการในสังคม การทำเช่นนี้จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพของผู้พิการ เพื่อให้พวกเขาสามารถแสดงศักยภาพและเข้ามามีส่วนร่วมในสังคมอย่างแท้จริง

บังคับทำหมัน กีดกันเรื่องเพศ และเสี่ยงถูกล่วงละเมิด เกิดเป็นหญิง พิการ และเพศหลากหลาย ความเสี่ยงจากอัตลักษณ์ทับซ้อน
เมื่อคนคนหนึ่งเกิดมาเป็นคนพิการก็มักจะถูกมองว่าดูแลตัวเองไม่ได้ มีเรื่องที่ทำไม่ได้และไม่ควรทำ มีเรื่องที่ควรรู้ และไม่จำเป็นต้องรู้ด้วยเหตุผลว่าเป็นคนพิการ
หากมีเพศกำเนิดหญิงก็ต้องเผชิญกับค่านิยมของครอบครัวและสังคมแบบชายเป็นใหญ่ที่เป็นผู้หญิงต้องทำแบบนั้นต้องเป็นแบบนี้รวมไปถึงต้องอยู่ในการดูแลของผู้ชาย
ยิ่งมีอัตลักษณ์เพศหลากหลายด้วย แล้วอยู่ในสังคมที่การยอมรับและการปฏิบัติต่อเพศหลากหลายยังขาดความเข้าใจ ถูกกีดกัน หรือยังมองเป็นความผิดปกติที่ไม่ควรเป็น ควรจะเลิก หรือควรจะเปลี่ยน
งานวิจัย “สถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาวะของกลุ่ม LBT” ในโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับกลุ่ม Lesbian (หญิงรักหญิง) Bisexual (หญิงรักได้ทั้งสองเพศ) และ Transgender (บุคคลข้ามเพศ) ที่ทำการศึกษาโดย ดาราณี ทองศิริ นักวิจัยของโครงการ ได้นำเสนอปัญหาของกลุ่ม LBT ที่มีความพิการทางสายตาและสิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องเผชิญซึ่งนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาวะ
เมื่อความรู้เรื่องเพศถูกมองว่าไม่จำเป็นสำหรับคนพิการ
“ตามองไม่เห็น จะรู้เรื่องเพศไปทำไม”
หลายครอบครัวที่มีลูกพิการมักมองว่าการเรียนรู้เรื่องเพศนั้นเป็นสิ่งไม่จำเป็น หลายคนถูกเลี้ยงอยู่ในกรอบและขีดเส้นให้ทุกอย่าง ส่วนใหญ่ให้การศึกษาด้วยการให้เข้าโรงเรียนประจำ โรงเรียนสอนคนตาบอด ซึ่งมีทั้งแบบที่เรียนร่วมกันทั้งหญิงและชาย บางโรงเรียนก็แยกหญิงชายออกจากกัน
การเรียนรู้เรื่องเพศ แม้จะมีอยู่บ้างในวิชาสุขศึกษาหรือการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธ์ แต่หลายแห่งก็ตัดเนื้อหาบางส่วนออกไปด้วยคิดว่าคนพิการไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ หลายคนจึงเรียนรู้ด้วยตัวเองเรียนรู้จากการฟังเพราะไม่เห็นภาพหลายคนอาจจะได้เรียนรู้
จากการจับโมเดลเพื่อเรียนรู้เพศของตนเองเช่นโมเดลมดลูกแต่โดยส่วนใหญ่แล้วการเรียนรู้เรื่องเพศยังถูกผลักให้เป็นเรื่องไกลตัวและห้ามเรียนรู้จนทำให้บางคนเติบโตมาโดยไม่รู้ความแตกต่างระหว่างเพศและบางกรณีเมื่อถูกบังคับแต่งงานก็เกิดความกลัวต่อสิ่งที่ไม่เคยมีความรู้มาก่อนถึงแม้จะรู้ว่ามีอวัยเพศที่แตกต่างกันของหญิงและชายแต่เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นภาพหรือได้เรียนรู้จากการสัมผัสโมเดลมาก่อนก็ยิ่งทำให้เกิดความกลัวต่อความไม่รู้นี้
หญิงพิการกับการถูกบังคับให้ทำหมัน
“อย่ามีลูกเลย ตาบอดดูแลลูกยาก ให้ทำหมันไปเลย“
“ให้คุมกำเนิดถาวรเลย ห้ามมีลูกเด็ดขาด“
จากข้อมูลจะพบว่ามีหญิงพิการจำนวนหนึ่งที่ถูกบังคับให้ทำหมันจะได้ไม่ต้องมีลูกด้วยความเชื่อของบางครอบครัวว่าการที่ลูกหลานพิการก็ทำให้ดูแลตัวเองไม่ได้แล้วหากต่อไปมีลูกแล้วจะดูแลลูกได้อย่างไรจึงคิดว่าการบังคับทำหมันเป็นการตัดปัญหาที่คิดว่าจะตามมาภายหลัง
ในบางกรณีก็ได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ให้คุมกำเนิดหรือทำหมันให้กับคนพิการไปเลย โดยไม่ได้ถามความสมัครใจหรือความคิดเห็นของเจ้าตัว การตัดสินใจจึงเป็นของครอบครัว ผู้นำครอบครัว ผู้ให้คำแนะนำที่คิดว่าเป็นการทำด้วยความหวังดี
แต่ก็พบว่าหญิงพิการบางคนเมื่อมีครอบครัวก็อยากจะมีลูกเช่นเดียวกับครอบครัวทั่วไป การตัดสินไปก่อนล่วงหน้าหรือการให้คำแนะนำให้ทำหมันจึงเป็นเรื่องกระทบต่อจิตใจผู้พิการ
หญิงพิการ มองไม่เห็น เสี่ยงต่อการล่วงละเมิด
“มีคนมาจับตามตัว ตามองไม่เห็น ก็คิดว่าเขาจะช่วยเหลือ กว่าจะรู้ว่าโดนลวนลาม“
ไม่ว่าจะเป็นข่าวหรือไม่เป็นข่าว เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางว่าหญิงที่เป็นผู้พิการมักตกเป็นเหยื่อถูกล่วงละเมิดทางเพศทั้งจากคนในครอบครัวที่เป็นลุง ปู่ ตา อา ลูกพี่ลูกน้องหรือแม้กระทั่งผู้เป็นพ่อ บางรายก็ถูกล่วงละเมิดจากคนใกล้ชิดไม่ว่าจะในชุมชน ผู้ดูแลในโรงเรียน และส่วนใหญ่เรียกร้องความยุติธรรมไม่ได้อีกทั้งถูกเพิกเฉยปล่อยผ่าน
อีกทั้งมีเรื่องที่ทำร้ายจิตใจคนพิการมากขึ้นไปอีกคือบางกรณีที่เกิดขึ้นในครอบครัวแล้วคนในครอบครัวเพิกเฉยไม่ทำอะไรเลยด้วยเหตุผลเพราะผู้ชายที่ล่วงละเมิดเป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นคนหาเงินไม่อยากให้มีปัญหา
ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้น การที่คนพิการไม่ได้รับความรู้เรื่องเพศ ความไม่รู้นั้นทำให้การกระทำล่วงละเมิดทางเพศถูกทำให้เป็นเรื่องของการสมยอม อีกทั้งการกระทำล่วงละเมิดเหล่านี้มักเกิดจากความไว้วางใจต่อญาติหรือคนใกล้ชิดที่คนพิการไม่สามารถอ่านเจตนาออกว่าเขาจะเข้ามาล่วงละเมิด
LBT พิการ วาจาว่าร้ายซ้ำซ้อนทำร้ายจิตใจ
“คบผู้หญิงด้วยกันจะดีเหรอ ยิ่งตาบอดด้วยใครจะดูแล คบผู้ชายดีกว่าไหม”
“พิการแล้วยังจะเป็นทอมเป็นดี้อีก“
การมีเพศกำเนิดหญิงที่มีความพิการ มักจะถูกห้ามไม่ให้ทำอะไรหลายอย่าง และถูกกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ด้วยความเป็นหญิง ยิ่งการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศนั้นมีน้อย การเติบโตมาแล้วค้นพบตัวเองว่าเป็นเพศหลากหลาย บางคนมีความรู้สึกรักชอบผู้หญิง
บางคนชอบได้ทั้งสองเพศ บางคนรู้สึกว่าตนเองไม่ใช่ผู้หญิงแต่เป็นอัตลักษณ์ทอม หลายคนถูกกีดกันออกจากกลุ่ม ถูกต่อว่าด้วยวาจา การพูดถึงหรือการนินทา ในแง่ที่ว่า เป็นผู้หญิงพิการแล้วยังจะไม่มีความเป็นหญิงอีก พิการแล้วยังจะเป็นทอมอีก นอกจากร่างกายไม่ปกติแล้วจิตใจก็ไม่ปกติด้วย
การปฏิบัติที่ไม่ดีเหล่านี้ ทำให้กลุ่ม LBT ที่มีความพิการรู้สึกว่าคนที่มองเขาหรือว่ากล่าวด้วยวาจาแบบนั้นได้เคยคิดถึงใจพวกเขาบ้างไหมว่าจะรู้สึกอย่างไร
หญิงพิการอัตลักษณ์ทอมบางคนเคยยอมทำตามความเห็นของครอบครัวด้วยการคบหรือแต่งงานกับผู้ชาย แต่ก็พบว่า ในเรื่องของการดูแลก็ไม่ได้รับการดูแลที่ดี อีกทั้งผู้ชายที่ครอบครัวเลือกมาให้ก็ยังมาเป็นภาระทั้งการทำงานบ้าน ทั้งด้านค่าใช้จ่ายของตนเอง ก็ยิ่งทำให้ไม่มีความสุข แม้แต่หญิงพิการไบเซ็กช่วลที่เคยเลือกคบหากับผู้ชายก็รู้สึกว่าไม่ใช่ว่าการเลือกที่จะคบกับเพศใดจะเป็นสิ่งยืนยันว่าจะมีความสุขได้ขอเพียงได้เป็นตัวของตัวเองน่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้มีความสุขได้มากกว่า
คนพิการด้วยกันก็ยังไม่เข้าใจต่อเพศหลากหลาย
งานวิจัยยืนยันจากการเก็บข้อมูลว่า ความเข้าใจในเรื่องเพศหลากหลายของคนในสังคมมีน้อยอย่างไร ในกลุ่มคนพิการด้วยกันก็มีน้อยอย่างนั้นเช่นกัน หลายคนในกลุ่มคนพิการที่มีหญิงรักหญิงก็มีความเสี่ยงต่อการถูกคุกคามและตีตราจากชุมชนของคนพิการเพราะมีความเชื่อว่าผู้พิการไม่ควรมีเพศสัมพันธ์และหากมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันก็จะถูกตั้งคำถามหรือถูกกีดกันทั้งการตั้งคำถามการนินทาว่าร้ายหรือพูดในเชิงตำหนิบ้างนำไปล้อเลียนเป็นเรื่องตลกขบขันบ้างยังมีให้รับรู้โดยทั่วไปทำให้ผู้ที่เพศหลากหลายไม่ค่อยอยากที่จะเข้าสังคมบางคนเก็บตัวไม่สุงสิงกับใครเพื่อให้ไม่ต้องรู้สึกว่าไม่ถูกยอมรับจากสังคม
การสร้างความเข้าใจที่จะนำไปสู่การยอมรับหรือการเปลี่ยนแปลงความเชื่อไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนทั่วไปหรือกลุ่มในกลุ่มคนพิการเพื่อให้คนหลากหลายทางเพศได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมไม่ถูกเลือกปฏิบัติไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมยังต้องช่วยกันสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องนี้อีกมาก
ยังไม่มีพื้นที่ปลอดภัย สำหรับการพูดคุย ปรึกษา ของ LBT พิการ
ในสังคมของคนทั่วไปในปัจจุบันก็มีการกล่าวถึงอัตลักษณ์ทางเพศอย่างแพร่หลาย และดูเหมือนว่าจะแสดงทางสังคมอยู่ในระดับของความ “เข้าใจ” ซึ่งอาจจะเป็นเพราะมีคนลุกขึ้นมาแสดงตัวว่าเป็นกลุ่มเพศหลากหลายจำนวนมาก แต่เมื่อมองลึกลงไปที่การแสดงออกของแต่ละคนหรือในบางกลุ่มก็ยังมีการกีดกันผู้ที่มีเพศหลากหลายออกจากกลุ่ม
บางคนแสดงออกว่าเข้าใจได้ถ้าเป็นคนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับตนแต่ถ้าเป็นคนใกล้ชิดคนในครอบครัวกลับปฏิบัติต่อเขาด้วยความไม่เข้าใจและยังใช้บรรทัดฐานของความเป็นชายความเป็นหญิงความเป็นคนปกติและความเป็นคนพิการมาวัดกัน
การทำให้เกิด “พื้นที่ปลอดภัย” จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทั้งกับกลุ่ม LBT พิการ และ LBT กลุ่มอื่นๆ เพราะการบ่มเพาะให้เกิดพื้นที่แห่งความไว้วางใจสำหรับการได้พูดคุยกันแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นหรือประสบการณ์ต่างๆที่ทำให้ได้เป็นตัวของตัวเองเกิดความรู้สึกถึงการมีตัวตนที่ได้รับการยอมรับจากสังคมไม่ต้องกังวลว่าจะถูกมองอย่างตัดสินจากคนอื่นจะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้ผ่านพ้นความรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือการไม่ถูกยอมรับไปสู่ความมั่นใจในการใช้ชีวิตเป็นตัวของตัวเองได้และสามารถพัฒนาตนเองเพื่อสร้างสุขภาวะให้เกิดขึ้นได้
ข้อมูลจาก
งานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาผลกระทบต่อสุขภาวะของ LBT ที่มีความพิการ พบว่า
– ถูกกีดกันการเรียนรู้เรื่องเพศ และไม่สนับสนุนให้มีความสุขทางเพศ
– มีความเสี่ยงที่จะถูกบังคับให้ทำหมัน หรือไม่ได้รับการสนับสนุนให้มีลูกหรือมีครอบครัว
– มีความเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศสูง
– ถูกตีตราจากสังคมซ้ำซ้อน ทั้งจากการเป็นผู้พิการและการมีเพศวิถีที่ไม่ได้รับการยอมรับ
– ไม่มีพื้นที่ปลอดภัยในการสร้างความสัมพันธ์ ไม่มีเพื่อนหรือคนให้คำปรึกษาเรื่องเพศ