จากปาฐกถา LBTQ Community Festival : อัตลักษณ์ ตัวตนของ LBTQ ที่ไม่ถูกมองเห็น 30 มิถุนายน 2567
“ขบวนการเคลื่อนไหวของเมืองไทย ผูกติดกับการเคลื่อนไหวของเฟมินิสต์ระดับโลกซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว และเฟมินิสต์คือคนที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องเรื่องสิทธินั้นทําหลายเรื่องมาก ตั้งแต่สิ่งแวดล้อม ต่อต้านสงคราม แต่ไม่ถูกมองเห็น”
ขบวนการเคลื่อนไหวนี้ พอจะแบ่งได้เป็น 4 คลื่น (4 Wave)
คลื่นลูกแรก มาจากอเมริกา เพราะเป็นประเทศที่อยู่ในสื่อตลอด เพราะฉะนั้นการเคลื่อนไหวของอเมริกาก็ถูกจับตาและถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มีเฟมินิสต์ที่ลุกขึ้นมาสู้เรื่องตัวเองในประเทศแอฟริกา ในเอเชีย ในที่อื่นๆ ไม่มี
ในหลายประเทศ คลื่นลูกแรกของเฟมินิสต์ คือการเรียกร้องเรื่องสิทธิการเมือง ก็คือการเลือกตั้ง เพราะในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1920 ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ดังนั้น เรียกได้ว่า สิทธิการเลือกตั้งก็คือสิทธิทางการเมือง
จากนั้น ก็เป็นสิทธิแรงงาน เนื่องจากผู้หญิงออกจากภาคเกษตรมาทําอุตสาหกรรม แต่ค่าจ้างได้น้อยกว่า ดังนั้นก็จะเป็นกระแสนี้ในคลื่นลูกที่หนึ่ง
คลื่นลูกที่สอง จะเป็นเรื่องที่เรียกว่า Personal is Political เรื่องส่วนคือ เรื่องการเมือง เรื่องร่างกาย ผู้หญิงไม่ได้อยากมีลูกเยอะ โยงไปถึงสิทธิร่างกาย แล้วโยงไปถึงเรื่องการทําแท้งสามี หรือแฟนไม่มีสิทธิ์มา Abuse (ข่มเหง,ทารุณ) รวมถึงกลุ่มเลสเบี้ยนก็เกิดขึ้นในช่วงนี้ จะมีเรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ สิทธิพลเมือง รวมไปถึงการต่อต้านสงครามของกลุ่มผู้หญิงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จะมีภาพของกลุ่มผู้หญิงอินเดียที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อให้ตัวเองเป็นเอกราช แต่เราจะไม่ได้ยินเรื่องราวของผู้หญิงเท่าเรื่องของ มหาตมะ คานธี
เพราะฉะนั้นไม่ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในสังคมเรื่องราวผู้หญิงมักหายไปหมดเลย
คลื่นลูกที่สาม เมื่อขบวนการสิทธิผู้หญิงกลายเป็น Global ระดับโลกในปี 1975-1985 จะเป็นทศวรรษของสตรี เกิดขึ้นในทั่วโลก ทั้งยุโรป อเมริกา รวมไปถึงเอเซีย
ปี 1994 มูลนิธิฯ ต่างๆ มาเตรียมงานเฟมินิสต์ ทั่วโลกที่ประเทศไทย ซึ่งตัวพี่ (อวยพร เขื่อนแก้ว) กับพี่แตง (อัญชนา สุวรรณานนท์) เป็นกลุ่มเลสเบี้ยนคุยกันใต้บันได หรือใต้บันไดโรงแรม ก็จะเป็นมุมๆ นั่นก็แปลว่าเราไม่มีตัวตน เราก็ไปคุยกัน 4-5 คน นั่นคืออัญจารีตอนนั้น และจะเห็นได้ชัดเจนว่า เลสเบี้ยนก็จะถูกมองไม่เห็นแม้แต่ในกลุ่มเฟมินิสต์เอง ซึ่งเกิดทุกแห่งในโลก แต่จะซ้อนๆ กันในขบวนใหญ่ เรื่องพลเมือง เรื่องผู้หญิงก็จะถูกแอบๆ ถูกมองไม่เห็นเพราะอยู่ในขบวนของผู้ชายนําและระบบชายเป็นใหญ่ในสังคม
คลื่นลูกที่สี่ ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 เริ่มเกิด Queer Theory เกิด LGBIQ เพราะว่า ชายเป็นใหญ่แบบบรรทัดฐานรักต่างเพศกีดกันคนมากมาย และไม่ใช่เฟมินิสต์ที่รู้สึก มี Queer มี LGBTIQ เต็มไปหมดที่รู้สึก เพราะนั้นยิ่งทําให้ขบวนการเคลื่อนไหวในสังคมมีพลังมากขึ้น
พอคนเริ่มเห็นว่ามาตรฐานรักต่างเพศ คือธรรมชาติมีหลายเพศ ความรักมีหลายแบบ การเกิดขึ้นของ Queer Theory ทั้งในแง่ทฤษฎีหรือการลุกขึ้นมาต่อสู้ ก็มาสมทบกับเฟมินิสต์รุ่นแรกๆ เลยทําให้มีพลังและได้รับการมองเห็นจากขบวนการเคลื่อนไหวสังคมอื่น ๆ ที่ถูกนําโดยผู้ชาย เห็นได้ชัดจาก โปสเตอร์ We Can Do It
ต้องไม่ลืมว่า การต่อสู้เรื่องเลสเบี้ยน – เรื่องเฟมินิสต์เรามีพี่น้องที่ต่อสู้มามากมายเป็นร้อยๆ ปี ดังนั้นเราไม่ควรจะลืมประวัติศาสตร์ของคนรุ่นก่อน แล้วควรจะรู้คุณว่าการที่เรามานั่งอยู่ตรงนี้ แล้วมีชื่อ LBT ไม่ใช่อยู่ๆเราก็เก่งมาก แต่เป็นการต่อสู้ของคนอื่นๆ มากมาย และเราเป็นส่วนหนึ่งของ Global
ขบวนการเคลื่อนไหวเฟมินิสต์ และ LBT ในประเทศไทย
“ขบวนการเฟมินิสต์ในประเทศไทยถึงปัจจุบัน ก็จะเห็นรัฐธรรมนูญระบุว่า ชายและหญิงมีสิทธิเท่ากันหมด จากนั้นเกิดวารสารสตรีทัศน์ ที่พูดเรื่องผู้หญิง ในปี 2527 และ กลุ่มอัญจารี กลุ่มหญิงรักหญิง ในปี 2529″
ปี 2537 เกิดการรวมตัวของผู้หญิงรากหญ้า ซึ่งในยุคนั้นจะผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจปกครองส่วนท้องถิ่น จําได้ปีนั้นเป็นปีที่พี่อบรมผู้หญิงให้ลงสมัครการเมือง อบต.ที่ภาคเหนือ
ปี 2542 เกิดสมาคมฟ้าสีรุ้ง เกิดศูนย์สตรีธรรมศาสตร์ สตรีรากหญ้ารวมตัวกัน เกิดองค์กรสวิง ผู้หญิงที่แต่งงานสามารถเลือกใช้นําหน้าชื่อไม่ต้องเปลี่ยนนามสกุลตามสามี
ปี 2546 เป็นด่านที่ฝ่ายากที่สุดของเฟมินิสต์คือศาสนาที่ๆ ชายเป็นใหญ่
ในยุคนั้นท่านธรรมนันทา (ภิกษุณีธัมมนันทา) เราแทบจะเป็นสองคนในยุคนั้นที่พูดเรื่องเฟมินิสต์ในศาสนาพุทธเมืองไทย แต่เราก็เชื่อมกับ Global แล้วท่านเป็นคนแรกที่บวช
ท่านเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นผู้ที่มีแหล่งอํานาจทั้งหมด เป็นคนชั้นกลางระดับบน เป็นศาสตราจารย์เป็นคนที่สอนหนังสือ แต่ว่าไม่ใช้เพื่อตัวเอง ท่านไปบวชที่ศรีลังกา 3 เดือน
หลวงแม่อยู่ในข่าวทุกวัน แล้วเขาโจมตีว่าหลวงแม่เป็นเลสเบี้ยนจะตั้งแก๊งค์กันที่วัด จะเอากันที่วัด แต่ตอนนี้เรามีภิกษุณี 200 กว่ารูป มีสามเณรี 200 กว่ารูป แล้วมีเกือบทุกจังหวัด ให้รู้ไปว่าเราทําได้
ปี 2550 มีประเด็นเรื่องท้องไม่พร้อม พวกเราหลายคนร่วมเข้ามา และเร่ิมมีผู้หญิงเข้าเรียนตํารวจ สิ่งที่คิดว่าหายไปอย่างหนึ่งคือ สิทธิการลาคลอด ซึ่งประเด็นนี้เกิดจากผู้หญิงโรงงาน ที่อ้อมน้อย อ้อมใหญ่ และผู้หญิงหลายคนเข้าใจไปว่ารัฐบาลไทยใจดี ใจกว้าง ให้ลาคลอดสามเดือน ซึ่งเราต้องไปขอบคุณผู้หญิงโรงงาน (ที่ผลักดันประเด็นนี้จนสำเร็จ) แต่กลุ่มผู้หญิงที่ได้ลาคลอดกลุ่มแรกคือ กลุ่มผู้หญิงข้าราชการที่ไม่ได้ออกมาต่อสู้อะไรเลย
มีกฎหมายเรื่องการทําร้ายจากผู้ชายที่เป็นสามี ถือว่าผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้านั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติ แล้วก็นํามาสู่กลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอก แล้วก็เกิดเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย เกิดคณะทํางานวาระผู้หญิงภาคใต้ ผู้หญิงมุสลิมในกลุ่มภาคใต้ มีสิทธิ์มีเสียงในการพูดเรื่องสันติภาพภาคใต้ แล้วก็กลับมาทํางานเรื่องความรุนแรงที่ตัวเองเจอในครอบครัว
ต่อมา มีส.ส.หลากหลายทางเพศสภาพ เข้าทํางานรัฐสภาก็ถือว่าเขาก้าวหน้ามาก แล้วก็เริ่มต้นเรื่องรณรงค์สมรสเท่าเทียม
ปี 2567 ปีที่รัฐสภาผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม
คนหลากหลายทางเพศยังถูกเลือกปฏิบัติ
ถึงแม้ขบวนการเคลื่อนไหวของเฟมินิสต์ (Femenist Movement) ที่มีพลังไปทั่วโลก แต่ว่ากรอบของเพศผู้ชายก็จะมีสิทธิ์มากกว่าผู้หญิงหรือมีค่ามากกว่าผู้หญิง
ตามกรอบเพศสังคมกําหนดผู้ชายก็จะมีโอกาสสิทธิเสรีภาพมากกว่า เมื่อมองในมุมเพศวิถี ถึงแม้จะมีกฎหมายแล้ว แต่ในทางวัฒนธรรมก็ยังเชื่อว่าต้องเป็นหญิงกับชายอยู่ คนข้ามเพศ คนหลากหลายทางเพศ ยังถูกเลือกปฏิบัติอยู่ เพราะแม้แต่ในผู้หญิงด้วยกันเองก็ยังหล่อหลอมเอาแนวคิดชายเป็นใหญ่เข้าไป แล้วดูถูกรังเกียจผู้หญิงกันเองหรือรังเกียจคนข้ามเพศ (โฮโมโฟเบีย)
อัตลักษณ์และอำนาจทับซ้อน - intersectionality
intersectionality ซึ่งขอแปลว่า การกดขี่ทับซ้อน เราไม่ได้สอนหลักสูตรนี้ในมหาวิทยาลัย หรือในระดับประถม มัธยม ในเรื่องการกดขี่ทับซ้อนที่คนชายขอบคือคนข้างล่างถูกกระทำ
“หากคุณทํางานเรื่องความเท่าเทียมไม่ว่าจะเท่าเทียมเรื่องเพศ เรื่องชนชั้น หรือเรื่องอะไรก็ตาม แต่คุณไม่มีเลนส์ที่มองเห็นความทับซ้อนการกดขี่ คุณตกขอบแล้ว คุณเชยมาก”
เพราะว่าจริงๆแล้ว เราต้องระบบสังคมที่ไม่เท่าเทียมเลือกปฏิบัติกับคนเหล่านี้ทั้งหมด คนอีสาน คนชาวเขา คนพิการ คนหลากหลายทางเพศ แล้วถ้ามองเห็นว่าถ้าคนเหล่านี้มาร่วมกัน จะกลายเป็น Social Movement ที่มีพลังแล้วก็เปลี่ยนสังคมได้
ขบวนการนี้เกิดแล้วที่พม่า แล้วเราจะเห็นว่ากลุ่มเฟมินิสต์ของพม่าเข้มแข็งมาก เพราะกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่ากลุ่มน้อยค่อยๆ เข้มแข็ง ทําให้คนที่ทํางานเรื่องประชาธิปไตย เรื่องการเมืองพม่าก็มีพลังไปด้วย
เมื่อ Well Being เกิดจาก Feminist Aactivist ทั่วโลก แต่แล้วกลับถูกมองไม่เห็น แม้แต่ใน Funder เรื่องผู้หญิงก็หายไปหมด ยิ่งประธานาธิปบดีคนใหม่ (ทรัมป์) สิ่งที่ก้าวหน้าถอยไปหมดเลย เรื่องการทําแท้ง เรื่องอนามัย งบประมาณตกหมด
เพราะฉะนั้นคนที่ทํางานเรื่อง เรื่องสิทธิทางเพศ ก็จะรู้สึกBurnout และไม่ปลอดภัย เขาก็เลยคุยกันว่า ควรจะทําเรื่อง Well Being
Activist เจออะไรบ้างเช่น ครอบครัวยังไม่ยอมรับตัวตนที่เราเป็นเลสเบี้ยน เป็นไบเซ็กชวล เป็นทรานส์ หรือเป็นคนพิการ เราก็ Well Being เราก็ตายตั้งแต่ที่บ้าน
เราต้องรู้ว่าเรามีเพื่อนคนพิการ ที่เป็นเกย์ เป็นเลสเบี้ยน อยู่ที่บ้าน ออกจากบ้านไม่ได้ เพราะพอพิการ พ่อแม่ห้ามแต่งงาน พ่อแม่ไม่ให้เรียนหนังสือ ยังมีวัฒนธรรมครอบงํา คือ ใช้ Power Over ไม่ใช่เฉพาะ LGBT ทุกองค์กรเลย
เพราะฉะนั้นเราอาจจะมีความท้าทายเรื่องการแย่งทรัพยากรกันแม้กระทั่งในหมู่ LGBT เพราะทรัพยากรน้อย แล้วในที่สุดบางกลุ่มก็ต้องไปเอาเงินทุนมา เงินทุนจากทุนนิยม จากบริษัทห้างร้าน มาทํางาน
ระดับประเทศไทย Well Being Funding แม้กระทั่ง NGO ผู้ชายที่เป็น Straight ก็ไม่ต้องสนใจเรื่อง Well Being เพราะกลับไป เมียก็ดูแล เพราะในสังคมชายเป็นใหญ่ ไม่ว่าคุณจะทํางานเอ็นจีโอ หรือทำงานสิทธิมนุษยชน คุณก็ยังมี Well Being ที่ถูกได้รับการดูแล จากลูก เมีย จากวัฒนธรรม จากศาสนา จากรัฐ เพราะฉะนั้นเรื่อง Well Being ก็เป็นประเด็นที่ถูกมองข้าม
Well Being ไม่ใช่ Self Care หากแต่เป็น Social Justice
Self Care เป็นแค่กิจกรรม Well Being คือ Social Justice จะต้องตีประเด็นให้แตกว่า Well Being ที่เราเรียกร้องตอนนี้ คือ Social Justiceเพราะว่า Well Being ของ LGBT ของคนๆ นั้น ถูกทลายลงจาก จากการกดขี่ของทุกระบบของรัฐ และของสังคม
เพราะฉะนั้น Well Being ต้องโยง เป็นเรื่อง Social Justice เพราะฉะนั้นเวลาเราจะขอทุน เราต้องมองจากโครงสร้างสังคมว่า Well Being ของเราที่หายไป เพราะเราอยู่ในสังคมที่ยังตีตรา ไม่ให้บริการ จากเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะไม่อย่างนั้น Well Being จะกลายเป็น Self Care ซึ่งคิดว่าจะผิดประเด็น เขาก็จะแจกเงินให้คุณเหมือนองค์กรอื่นๆ ให้ไปพัก ให้ไปหานักจิต ให้เขาลางาน พาเขาไปเที่ยวทะเล ฯลฯ
อย่าหลงประเด็นว่า Well Being เป็นอันหนึ่ง เหมือนเราคุยเรื่องสิทธิเรียกร้องด้านอื่น แต่ Well Being ไม่สามารถพูดในเชิงกฎหมาย ยกเว้นตอนนี้เราจะทําเรื่องเป็นกฎหมายว่าทําอย่างไรให้คนข้ามเพศ รัฐจะต้องออกค่าผ่าตัดให้เขาเพราะนั่นเป็น Social Justice เป็น Well Being ที่เขาอยากจะอยู่ในร่างกายแบบไหน อยู่ในสรีระแบบไหน
เพราะฉะนั้นต้องมองมากกว่านั้น ไม่งั้นเราจะกลายเป็นมองกิจกรรม self care ซึ่งจะหลงทาง เพราะแหล่งทุนบางแหล่งทุน เขาไม่อยากโยงกับเรื่องสิทธิ เขาอยากจะให้คุณไปดูแลกันและไม่ทะเลาะกัน ยิ้มกัน หลังจาก burnout ก็กลับมาทํางานต่อ แต่ประเด็นของเรามากกว่านั้น
สิ่งที่เห็นเมื่อ 10 กว่าปีแล้วใน LGBT อเมริกาเขาทํางานเรื่องข้างในเพื่อจะโอบรับความเจ็บปวด ทํางานกับความเจ็บปวด ความโกรธตัวเอง
LGBT Movement เป็นช่วงที่ดีมากที่เราจะต้องท้าทายที่เราต้องมีบทสนทนากันเยอะๆ เราจะต้อง Feed Back ไม่ใช่การทําร้าย ไม่ใช่การทําลาย แต่เป็นการทักท้วง และชวนกันมาดูว่า จริงๆ แล้วศัตรูที่เราต่อสู้คืออะไร
ตอนนี้ใช้ภาษาใหม่ของ ภาษาวัฒนธรรมอํานาจร่วมเรียกว่า collective care and collective แชร์พลัง แชร์ทรัพยากร แล้วต้องทําทั้งชุมชนไม่ว่าชุมชนเป็นองค์กร หรือชุมชนเป็นเครือข่าย หรือชุมชนระหว่างเครือข่าย ไม่งั้นเราก็ติดอยู่ในวังวนของวัฒนธรรมอํานาจนิยมแบบเดิม และในที่สุดก็เป็นเหยื่อของชายเป็นใหญ่แบบเดิม