HON ชวนเพื่อนเครือข่าย ร่วมสร้างทิศทางสุขภาวะ LBT ผ่านงานวิจัย
“คนที่เป็น LBT ผู้พิการในรูปแบบต่างๆ ก็ต้องใช้ล่ามเฉพาะของความพิการแต่ละด้าน และยิ่งเป็นกลุ่มเยาวชนผู้พิการมักถูกล่วงละเมิดทางเพศจากผู้ดูแล ซึ่งไม่สามารถบอกกับใครได้”
“อยากให้มีการ WorkShop การรู้จักร่างกายตัวเองของกลุ่ม LBT ก่อนที่จะเข้าไปสู่ระบบบริการ เป็นเบื้องต้นของการสังเกตร่างกายตัวเองรู้ว่าตัวเองมีปัญหาอะไร และอยากให้การไม่มีพื้นที่ให้กลุ่มได้พูดคุยกัน ทั้งเรื่องความรุนแรงทางเพศ และรสนิยมทางเพศ”
“การไม่มี Social Support จะส่งผลกับ Mental Health ของกลุ่ม ถึงแม้จะอยู่ใน Community ที่ไม่ปลอดภัยก็ไม่สามารถออกมาได้ เพราะก็ไม่รู้จะไปอยู่ไหน”
“ความไม่เท่าเทียมทางเพศยังฝังอยู่ในทุกองค์กร”
เร่ิมต้นจาก งานวิจัย
บางส่วนของข้อเสนอและความคิดเห็นจากเพื่อนเครือข่ายที่มีความรู้ความเข้าใจและทำงานกับกลุ่ม LGBTQN+ ได้ช่วยกันสะท้อนออกมาจากเวทีเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา
ยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ พ.ศ. 2564-2566 โดย ดร.ชเนตตี ทินนามและคณะ ระบุชัดเจนว่า กลุ่มหลากหลายทางเพศที่ถูกลืมหรือถูกทำให้มองไม่เห็นมากที่สุดในพื้นที่ทางสังคม ได้แก่ หญิงรักหญิง คนรักได้ทั้งสองเพศ บุคคลที่มีเพศกำกวม และผู้ชายข้ามเพศ
จากยุทธศาสตร์ดังกล่าวนำมาสู่การปฏิบัติให้เป็นจริงโดยเร่ิมจากการสำรวจความต้องการที่แท้จริงของกลุ่ม LBT ทิด – ทฤษฎี สว่างยิ่ง ผู้จัดการเครือข่ายสุขภาพและโอกาส (Health and Opportunity Network : HON) และผู้จัดการโครงการ นักวิจัยโครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบริการสุขภาพที่สอดคล้องกลับกลุ่ม LBT (หญิงรักหญิง, หญิงรักได้ทั้งสองเพศ และบุคคลข้ามเพศ) เล่าว่า
“การที่จะต้องมีเวทีวันนี้ และเป็นวงสนทนาเล็กๆ เพื่อช่วยกันมองเรื่องสุขภาวะ LBT ว่าจะไปในทิศทางใด และจะชวนคนใกล้ชิดว่าจะขับเคลื่อนอย่างไร เพราะอยากจะสำรวจประเด็นปัญหา ต้องการที่พัฒนาระบบที่เชื่อมโยงกับภาครัฐ และในส่วนที่ยังไม่มี โดยเฉพาะกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LBT และ Tran Gender)”
ทฤษฎี สว่างยิ่ง ผู้จัดการเครือข่ายสุขภาพและโอกาส (Health and Opportunity Network : HON)
ดาราณี ทองศิริ
นักวิจัยโครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบริการสุขภาพที่สอดคล้องกลับกลุ่ม LBT
ปลา – ดาราณี ทองศิริ นักวิจัยของโครงการฯ ได้พัฒนาคำถามสำหรับงานวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องและรอบด้าน
“ประเด็นนี้มีความคาดหวังค่อนข้างใหญ่มาก เรื่องนี้อาจจะต้องมีคำตอบว่าคนที่เรากำลังศึกษามาประชากรจำนวนเท่าไหร่ วัย หรือ พื้นที่ เอาแค่ข้อมูลเบื้องต้นว่าปัญหาคืออะไร เขาต้องการอะไร เขาจะรวมกลุ่มกันได้ไหม หากไม่ได้ทำไมจึงรวมไม่ได้ อย่างเรื่องสุขภาพก็มีงานมาพอสมควร หรือคนปัจจุบันมีนิยามเยอะมาก มันหมายความว่าอะไร ให้รู้ภูมิทัศน์ก่อน เราอยากจะลองทำไปด้วยเพื่อจะได้รู้ว่าบริการไหน Work หรือไม่ Work เพราะมันเป็นนวัตกรรม”
อย่างไรก็ตาม เครือข่ายได้ให้ข้อเสนอแนะ ข้อแนะนำ ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งนักวิจัยจะนำไปเพิ่มเติมเพื่อให้กรอบคำถามครอบคลุมสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกต่อไป