LBT – Well Being

โครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับกลุ่ม Lesbian (หญิงรักหญิง) Bisexual (หญิงรักได้ทั้งสองเพศ) และ Transgender (บุคคลข้ามเพศ)” หรือ  LBT Move for Health

 

จากแนวคิดเรื่องแนวคิดสุขภาพดีร่วมกัน (Inclusive health) และความเสมอภาคทางสุขภาพ (HealthEquity)  ในงานศึกษายุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ พ.ศ. 2564-2566 โดย ดร.ชเนตตี ทินนาม และคณะ ได้กล่าวถึง

 

“ประชากรกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมลํ้าทางสุขภาพหลายประการและมีความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพ  เนื่องมาจากการถูกเลือกปฏิบัติและการตีตรา  ทำให้ประชากรกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและสาธารณสุข  อีกทั้งการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพและสุขภาวะของประชากรในประเทศยังขาดมุมมองในเรื่องของความหลากหลายทางเพศ ไม่คำนึงถึงคุณลักษณะเฉพาะ อัตลักษณ์ทางเพศภาวะ และเพศวิถี”

 

อีกทั้งยังสะท้อนว่า “กลุ่มหญิงรักหญิง คนรักได้ทั้งสองเพศ บุคคลที่มีเพศกำกวม และผู้ชายข้ามเพศ ถูกทำให้มองไม่เห็นมากที่สุดในพื้นที่ทางสังคม  ไม่มีการรวบรวมปัญหาของหญิงรักหญิง ไม่มีข้อมูล ทำให้ไม่สามารถดึงประเด็นปัญหาของหญิงรักหญิงขึ้นมาทำงานขับเคลื่อนสังคมได้”  

 

ดังนั้น  โครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับกลุ่ม Lesbian (หญิงรักหญิง) Bisexual (หญิงรักได้ทั้งสองเพศ) และ Transgender (บุคคลข้ามเพศ)” หรือ LBT Move for Health จึงลุกขึ้นมาขับเคลื่อน โครงการเพื่อ “เสริมสร้างความเข้มแข็ง”  “สร้างพื้นที่ปลอดภัย”  และ ”พัฒนาบริการสุขภาพ”  โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลหลากหลายทางเพศ ที่เป็นกลุ่ม LBT (Lesbian-Bisexual-Transgender)

      • L – Lesbian  หรือ เลสเบี้ยน หมายถึง ผู้หญิงที่มีความรักต่อผู้หญิงด้วยกัน  

      • B – Bisexual หรือ ไบเซ็กชวล ในที่นี้หมายถึง หญิงรักได้ทั้งสองเพศ  เป็นกลุ่มไบเซ็กชวลที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิง 

      • T – Transgender หรือ บุคคลข้ามเพศที่มีเพศกำเนิดหญิง  อาจหมายถึง กลุ่ม ทอม (Female to Male Trans masculine people หรือ Tomboy) หรือ บุคคลข้ามเพศที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิง และยังไม่เข้าสู่การใช้ฮอร์โมนหรือศัลยกรรมเพื่อการเปลี่ยนเพศ 

    วัตถุประสงค์โครงการ 

        1. พัฒนาองค์ความรู้ การรวบรวมข้อมูล สำรวจ ประเด็นปัญหา เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและการสื่อสารสาธารณะในประเด็นสุขภาวะของกลุ่ม Lesbian (หญิงรักหญิง) Bisexual (หญิงรักได้ทั้งสองเพศ) และ Transgender (บุคคลข้ามเพศ)
        2. สร้างความเข้มแข็งของชุมชน LBT เปิดสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่เอื้อต่อการสร้างเสริมความเข้าถึง เข้าใจสะท้อนปัญหา มีส่วนร่วมรณรงค์เชิงนโยบายและสาธารณะ ในประเด็นด้านความเป็นธรรมทางสุขภาวะของ LBT
        3. พัฒนานวัตกรรมบริการที่เชื่อมโยงบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีทางเพศของกลุ่ม LBT
        4. สื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้เรื่องสุขภาวะของกลุ่ม Lesbian (หญิงรักหญิง)Bisexual (หญิงรักได้ทั้งสองเพศ) และ Transgender (บุคคลข้ามเพศ)
      1. กิจกรรมของโครงการ 

          1. งานศึกษาวิจัย “การศึกษาสำรวจสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาวะของกลุ่ม LBT”   เพื่อนำไปสู่การออกแบบบริการ การรณรงค์เชิงสาธารณะ และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย
          2. อบรมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดในการขับเคลื่อน เรื่องความเป็นชายขอบและความรุนแรงบนฐานแห่งเพศภาวะและวิถีทางเพศ
          3. จัดบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ สุขภาวะ แก่ LBT  ในพื้นที่พัทยา และพื้นที่ออนไลน์ 
          4. จัดกลุ่มสนับสนุน (group support)  สุขภาวะ LBT  เพื่อสร้างความเข้มแข็งและพื้นที่ปลอดภัย
          5. จัดเวทีรณรงค์และสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพของ LBT

        1.  

        1.  

        1.  

        1.  



        โครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับกลุ่ม Lesbian (หญิงรักหญิง) Bisexual (หญิงรักได้ทั้งสองเพศ) และ Transgender (บุคคลข้ามเพศ)” หรือ  LBT Move for Health

         

        จากแนวคิดเรื่องแนวคิดสุขภาพดีร่วมกัน (Inclusive health) และความเสมอภาคทางสุขภาพ (HealthEquity)  ในงานศึกษายุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ พ.ศ. 2564-2566 โดย ดร.ชเนตตี ทินนาม และคณะ ได้กล่าวถึง

         

        “ประชากรกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมลํ้าทางสุขภาพหลายประการและมีความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพ  เนื่องมาจากการถูกเลือกปฏิบัติและการตีตรา  ทำให้ประชากรกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและสาธารณสุข  อีกทั้งการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพและสุขภาวะของประชากรในประเทศยังขาดมุมมองในเรื่องของความหลากหลายทางเพศ ไม่คำนึงถึงคุณลักษณะเฉพาะ อัตลักษณ์ทางเพศภาวะ และเพศวิถี”

         

        อีกทั้งยังสะท้อนว่า “กลุ่มหญิงรักหญิง คนรักได้ทั้งสองเพศ บุคคลที่มีเพศกำกวม และผู้ชายข้ามเพศ ถูกทำให้มองไม่เห็นมากที่สุดในพื้นที่ทางสังคม  ไม่มีการรวบรวมปัญหาของหญิงรักหญิง ไม่มีข้อมูล ทำให้ไม่สามารถดึงประเด็นปัญหาของหญิงรักหญิงขึ้นมาทำงานขับเคลื่อนสังคมได้”  

         

        ดังนั้น  โครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับกลุ่ม Lesbian (หญิงรักหญิง) Bisexual (หญิงรักได้ทั้งสองเพศ) และ Transgender (บุคคลข้ามเพศ)” หรือ LBT Move for Health จึงลุกขึ้นมาขับเคลื่อน โครงการเพื่อ “เสริมสร้างความเข้มแข็ง”  “สร้างพื้นที่ปลอดภัย”  และ ”พัฒนาบริการสุขภาพ”  โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลหลากหลายทางเพศ ที่เป็นกลุ่ม LBT (Lesbian-Bisexual-Transgender)

          • L – Lesbian  หรือ เลสเบี้ยน หมายถึง ผู้หญิงที่มีความรักต่อผู้หญิงด้วยกัน  

          • B – Bisexual หรือ ไบเซ็กชวล ในที่นี้หมายถึง หญิงรักได้ทั้งสองเพศ  เป็นกลุ่มไบเซ็กชวลที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิง 

          • T – Transgender หรือ บุคคลข้ามเพศที่มีเพศกำเนิดหญิง  อาจหมายถึง กลุ่ม ทอม (Female to Male Trans masculine people หรือ Tomboy) หรือ บุคคลข้ามเพศที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิง และยังไม่เข้าสู่การใช้ฮอร์โมนหรือศัลยกรรมเพื่อการเปลี่ยนเพศ 

        วัตถุประสงค์โครงการ 

          1. พัฒนาองค์ความรู้ การรวบรวมข้อมูล สำรวจ ประเด็นปัญหา เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและการสื่อสารสาธารณะในประเด็นสุขภาวะของกลุ่ม Lesbian (หญิงรักหญิง) Bisexual (หญิงรักได้ทั้งสองเพศ) และ Transgender (บุคคลข้ามเพศ)
          2. สร้างความเข้มแข็งของชุมชน LBT เปิดสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่เอื้อต่อการสร้างเสริมความเข้าถึง เข้าใจสะท้อนปัญหา มีส่วนร่วมรณรงค์เชิงนโยบายและสาธารณะ ในประเด็นด้านความเป็นธรรมทางสุขภาวะของ LBT
          3. พัฒนานวัตกรรมบริการที่เชื่อมโยงบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีทางเพศของกลุ่ม LBT
          4. สื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้เรื่องสุขภาวะของกลุ่ม Lesbian (หญิงรักหญิง)Bisexual (หญิงรักได้ทั้งสองเพศ) และ Transgender (บุคคลข้ามเพศ)
        1. กิจกรรมของโครงการ 

          1. งานศึกษาวิจัย “การศึกษาสำรวจสถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาวะของกลุ่ม LBT”   เพื่อนำไปสู่การออกแบบบริการ การรณรงค์เชิงสาธารณะ และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย
          2. อบรมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดในการขับเคลื่อน เรื่องความเป็นชายขอบและความรุนแรงบนฐานแห่งเพศภาวะและวิถีทางเพศ
          3. จัดบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ สุขภาวะ แก่ LBT  ในพื้นที่พัทยา และพื้นที่ออนไลน์ 
          4. จัดกลุ่มสนับสนุน (group support)  สุขภาวะ LBT  เพื่อสร้างความเข้มแข็งและพื้นที่ปลอดภัย
          5. จัดเวทีรณรงค์และสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพของ LBT

        1.  

        1.  

        1.  

        1.