การพักผ่อน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจของทุกคนได้ดียิ่ง
โดยเฉพาะกลุ่ม LGBTQ ซึ่งอาจต้องเผชิญกับความเครียดที่แตกต่างออกไป ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับอคติทางสังคม การต่อสู้เพื่อการยอมรับทั้งในตัวเอง เพื่อนฝูง ครอบครัว

การให้เวลากับตัวเองเพื่อการพักผ่อนและทบทวนสุขภาวะของเราจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก
การพักผ่อนกับ Retreat แตกต่างกันอย่างไร ทำไม Retreat จึงมีความสำคัญ
แม้ว่าการพักผ่อนและ Retreat อาจดูเป็นแนวคิดที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองอย่างมีความเชื่อมโยงกัน
จะเห็นได้ว่า การพักผ่อนหมายถึงการให้ร่างกายและจิตใจได้หยุดพักจากความเครียดและความวุ่นวายในชีวิตประจำวัน ขณะที่ Retreat เป็นการพักผ่อนในเชิงลึก ที่มีการตั้งใจจัดสรรเวลาเพื่อฟื้นฟูสุขภาพจิตใจ อารมณ์ และพลังงานของตัวเอง

สร้างสมดุลระหว่างชีวิต การพักผ่อน และการ Retreat
ในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วและเต็มไปด้วยความเร่งรีบ การสร้างสมดุลระหว่างชีวิต การทำงาน และการพักผ่อนกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง หลายคนมุ่งมั่นทุ่มเทให้กับงานหรือภาระหน้าที่จนละเลยการดูแลตนเอง ส่งผลให้เกิดความเครียดและความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ การมีเวลาสำหรับการพักผ่อนอย่างเหมาะสม ไม่เพียงช่วยฟื้นฟูพลังงาน แต่ยังเสริมสร้างสุขภาพและความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย
หนึ่งในแนวทางที่ได้รับความนิยมมากขึ้นคือการ Retreat หรือการถอยกลับไปใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและมีสติ อาจเป็นการเดินทางไปสถานที่เงียบสงบ การปลีกตัวจากเทคโนโลยี หรือการฝึกสมาธิเพื่อเติมเต็มพลังชีวิต การ Retreat ไม่ใช่เพียงแค่การพักผ่อน แต่เป็นกระบวนการฟื้นฟูและทบทวนตัวเองอย่างลึกซึ้ง ซึ่งช่วยให้เรากลับมามีสมดุลและพร้อมเผชิญกับความท้าทายของชีวิตด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งขึ้น
การสร้างสมดุลที่ดีระหว่างงาน การพักผ่อน และการ Retreat จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เรามีชีวิตที่สมบูรณ์และมีความสุขมากขึ้น

ทำไมเราทุกคน โดยเฉพาะ LGBTQ+ ควรหาเวลาในการ Retreat
ในชีวิตประจำวันที่เต็มไปด้วยความกดดัน ความรับผิดชอบ และความคาดหวังจากสังคม ทุกคนล้วนต้องการเวลาสำหรับการพักผ่อนและฟื้นฟูพลังงาน
สำหรับ LGBTQ+ ต้องเผชิญกับความท้าทายเฉพาะตัว เช่น อคติทางสังคม ความคาดหวังจากครอบครัว หรือแม้แต่การค้นหาตัวตนของตนเอง การ Retreat จึงเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้น

Retreat ช่วยเยียวยาความเครียดและความกดดัน
หลายคนต้องเผชิญกับปัญหาการเลือกปฏิบัติ ความไม่ยอมรับ หรือการต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต การ Retreat เป็นโอกาสให้เราได้หยุดพักจากสังคมภายนอก ได้อยู่กับตัวเอง หรืออยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย ทำให้สามารถผ่อนคลายและเยียวยาจิตใจได้

การ Retreat ช่วยให้เราเชื่อมโยงกับตัวเองมากขึ้น
การใช้ชีวิตท่ามกลางเสียงรบกวนจากสังคมอาจทำให้เราหลงลืมตัวตนที่แท้จริงของเราไป การ Retreat ช่วยให้เราได้ทบทวนชีวิต ค้นหาคุณค่า และยอมรับตัวเองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปลีกตัวไปยังธรรมชาติ การฝึกสมาธิ หรือการทำกิจกรรมที่ช่วยให้เรากลับมาโฟกัสที่ตัวเอง

การ Retreat เปิดโอกาสให้พบเพื่อนที่เข้าใจ
หลายครั้งการ Retreat ไม่ได้หมายถึงการอยู่คนเดียวเสมอไป แต่เป็นโอกาสในการพบปะกับผู้คนที่มีความคิดหรือประสบการณ์ใกล้เคียงกัน LGBTQ+ Retreat หลายแห่งสร้างขึ้นเพื่อให้ชุมชนสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสนับสนุนกันและกันได้อย่างแท้จริง

ช่วยเสริมสร้างพลังใจและแรงบันดาลใจ
การ Retreat ทำให้เรามีโอกาสได้เรียนรู้ ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ศิลปะ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งสามารถช่วยให้เรากลับมามีพลัง พร้อมรับมือกับความท้าทายในชีวิตอีกครั้ง

เป็นโอกาสในการสร้างสมดุล
ระหว่างชีวิตและการเป็นตัวของตัวเอง การมีพื้นที่ที่เรารู้สึกปลอดภัยและไม่ต้องปิดบังตัวเอง ช่วยให้เราสามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ Retreat เป็นโอกาสให้เราหลุดพ้นจากกรอบที่สังคมกำหนด และสร้างสมดุลระหว่างงาน ความสัมพันธ์ และสุขภาพจิตของเรา
Retreat : feminist spiritual and wellbeing
โครงการ LBT Well Being จัดกิจกรรมที่อาจะเรียกได้ว่าเป็นการ Retreat ร่วมกันในรอบหลายๆ ปีของกลุ่ม LBTQ โดยเฉพาะที่พัทยา จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 5-8 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา

ในครั้งนั้นนอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้พักผ่อนริมทะเลแล้ว เพื่อเสริมสุขภาวะด้านกาย จิต แล้ว ยังมีประเด็นที่สอดแทรกให้เกิิดสุขภาวะทางปัญญาร่วมกันอีกทางหนึ่ง คือ แนวคิดคิดเฟมินิสต์ประเด็นสิทธิมนุษยชนแบบที่ฟังแล้วเข้าใจภาพรวมของทั้งสังคมได้ โดย มัจฉา พรอินทร์ นักขับเคลื่อนทางสังคมมาร่วมพูดคุย สนทนา และจัดกระบวนการ ซึ่งเธอกล่าวว่า

“ความหลากหลายทางเพศ เป็นเรื่องของ well being ผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศจำนวนมากถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จากทั้งระดับครอบครัว รัฐ
ผู้หญิงจำนวนมาก อาจจะไม่ได้ระหนักเท่าที่ควรว่า เราอยู่ในสังคมแบบไหน แล้วก็ไม่มีส่วนร่วมเท่าใดในการเปลี่ยนแปลง”

นอกจากนี้ อันธิฌา แสงชัย มาร่วมชักชวนให้เครือข่าย LBTQ ทำกิจกรรมเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญานร่วมกันผ่านกิจกรรมต่างๆ ด้วย เรียกได้ว่าได้สุขภาวะเกือบครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน คือ

1. ความเป็นอยู่ที่ดีทางกายภาพ (Physical wellbeing)
2. ความเป็นอยู่ที่ดีทางอารมณ์
3. ความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคม (Social and relationship wellbeing)
4. ความเป็นอยู่ที่ดีทางปัญญา (Intelligent wellbeing)
5. ความเป็นอยู่ที่ดีทางจิตวิญญาณ (Spiritual wellbeing)
(ข้อมูลเพิ่มเติม : https://hon.co.th/5-dimension/)

การ Retreat ไม่ใช่เพียงแค่การพักผ่อนจากภาระงานหรือชีวิตที่วุ่นวาย แต่เป็นโอกาสสำคัญในการดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ
การ Retreat มักรวมกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้ฟื้นฟูพลังงาน เช่น การทำสมาธิ โยคะ การดีท็อกซ์ร่างกาย และการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ซึ่งช่วยลดความเครียด เพิ่มสมาธิ และเสริมสร้างความสมดุลทางอารมณ์

นอกจากนี้ การ Retreat ยังเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้ทบทวนตนเอง ตั้งเป้าหมายใหม่ และปรับแนวทางการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้น การใช้เวลากับตัวเองอย่างมีสติและใส่ใจช่วยให้เกิดความตระหนักรู้ภายใน เพื่อกลับมาขับเคลื่อนสังคมร่วมกันได้อย่างมีความสุข
อ่านเพิ่มเติม : https://thestandard.co/life/10-wellness-retreat-2023/