การคุกคามทางเพศ เป็นปัญหาสำคัญในสังคมที่ส่งผลกระทบต่อคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็ตาม แต่สำหรับกลุ่ม LBT (เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล และทรานส์เจนเดอร์) การคุกคามทางเพศมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไป เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ต้องเผชิญกับความท้าทายจากทั้งการกดขี่ทางเพศ การตีตราทางสังคม และการไม่ยอมรับในเพศสภาพของตน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการคุกคามทางเพศที่ไม่เพียงแต่เกิดจากความไม่เท่าเทียมทางเพศ แต่ยังรวมไปถึงการไม่ยอมรับในตัวตนและอัตลักษณ์ทางเพศของแต่ละคนด้วย
การคุกคามทางเพศ และผลกระทบต่อกลุ่ม LGBT
การคุกคามทางเพศสร้างผลกระทบทั้งในด้านจิตใจและร่างกายของกลุ่ม LGBT เป็นอย่างมาก ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หวาดกลัวในการเปิดเผยตัวตน และรู้สึกไม่ปลอดภัยในสังคม อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะซึมเศร้าและการเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางจิตเวชต่าง ๆ นอกจากนี้ การถูกปฏิเสธหรือการคุกคามทางเพศอาจทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวและสิ้นหวัง ส่งผลให้กลุ่ม LGBT หลายคนเลือกที่จะซ่อนตัวตนแทนการแสดงออกอย่างเปิดเผย
การคุกคามทางเพศกับกลุ่ม T – ทอม
ได้ฟังเรื่องราวของการ คุกคามทางเพศในที่ทำงานของกลุ่ม LBT โดยเฉพาะท่านที่อาจจะไม่ได้เรียกตัวเองว่า “ทอม” (เพราะหลายคนก็ไม่ชอบให้เรียกตัวเองด้วยคำนี้) บุคลิกก็จะเป็นแบบห้าวๆ เท่ๆ มีแฟนเป็นผู้หญิง และถูกคนในที่ทำงานที่เป็นเพศชาย แสดงออกถึงการ คุกคามทางเพศ หรือ Sexual Harassment ซึ่งอาจจะมีหลายคนพบเจอปัญหานี้เช่นเดียวกันในรูปแบบต่างๆ เช่น

1. การพูดจาล่วงเกิน พูดเกี่ยวกับเรื่องเพศ เล่าเรื่องตลกเกี่ยวกับเรื่องเพศ พูดถึงสัดส่วนของร่างกาย หรือพูดเล่นคำที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ

2. แสดงกิริยาท่าทาง หรือการแทะโลมทางสายตา การจ้องมองส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

3. มีการสัมผัสทางร่างกาย ลวนลาม พยายามใกล้ชิดโดยไม่จำเป็น แตะเนื้อต้องตัว โอบกอด โอบไหล่

4. มีการส่งข้อความในเชิงอนาจาร เขียนข้อความ หรือส่งข้อความในเชิงส่อไปทางเพศ ส่งรูปภาพร่างกาย หรืออวัยวะเพศ
หลายคนที่ทำงานให้คำปรึกษาแนะนำว่าสิ่งที่ควรทำเมื่อถูก คุกคามทางเพศ ผู้ที่ถูกคุกคามจะทำอะไรได้บ้าง อย่างเช่น

- ต้องไม่เพิกเฉย เพราะการเพิกเฉยไม่ได้ช่วยให้การคุกคามทางเพศหยุดลง ต้องแสดงออกถึงความไม่พอใจ พูดปฏิเสธเมื่อถูกคุกคาม ต้องเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจน และถอยห่างจากคนคนนั้น

2. ส่งเสียงร้อง เรียกให้คนอื่นช่วย เพื่อให้ผู้กระทำหยุดการกระทำนั้น ถ้าเกิดเหตุการณ์ในที่ทำงานก็ส่งเสียงเรียกเพื่อนร่วมงานคนอื่นให้ช่วย บางคนอาจจะรู้สึกอาย แต่จริงๆ แล้วการคุกคามทางเพศ คนที่จะต้องรู้สึกอายคือคนที่ไปคุกคามคนอื่น

3. บันทึกหลักฐาน การจะทำอย่างนี้ได้ต้องตั้งสติก่อนแล้วกดบันทึกเสียง หรือถ้าบันทึกภาพวิดิโอได้ก็ควรทำทันที หรือบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องเป็นลายลักษณ์อักษรทันที โดยจดบันทึกวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ คำบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ใส่ชื่อของผู้ที่กระทำ หากมีพยานหรือบุคคลอยู่ในเหตุการณ์ก็ให้ใส่ชื่อของผู้อยู่ในเหตุการณ์มาด้วย การเก็บหลักฐานขึ้นอยู่กับลักษณะของการคุกคาม อย่างเช่นถ้าส่งข้อความมาก็ให้แคปหน้าจอ (Capture) เป็นภาพๆ ไว้ จัดเก็บหรือสำรองภาพไว้ ป้องกันการทำลายหลักฐาน

4. การร้องเรียนหรือแจ้งปัญหา ควรรีบเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้บุคคลที่ไว้ใจทราบทันที และแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้มีอำนาจในองค์กร เช่น ถ้าถูกคุกคามในที่ทำงานก็ต้องร้องเรียนกับผู้บังคับบัญชา แจ้งหัวหน้า ถ้าคนในที่ทำงานเพิกเฉยก็ต้องแจ้งกับบุคคลอื่นที่จะเอาผิดคนในที่ทำงานได้ หรือแจ้งความกับตำรวจ

5. สำหรับผู้ที่พบเห็น การคุกคามทางเพศ ควรให้ความช่วยเหลือ หากอยู่ในสถานการณ์หรือพบเห็นผู้ถูกกระทำ ไม่ควรเพิกเฉย อาจจะใช้วิธีห้าม บอกให้หยุดการกระทำนั้น เพราะการพบเห็นเหตุการณ์แต่เพิกเฉยไม่ทำอะไรก็เท่ากับว่าผู้ที่พบเห็นก็มีส่วนร่วมในการกระทำนั้นด้วย
บางคนที่ได้รับรู้เรื่องของการคุกคามทางเพศ การลวนลาม นอกจากเพิกเฉยแล้วยังมีวิธีคิดที่โยนความผิดไปที่ผู้ถูกกระทำ โทษคนอื่นเช่น “แต่งตัวแบบไหนถึงได้โดนลวนลาม” “ทำไมเอาตัวเองไปอยู่ในที่เสี่ยง” “ทำไมไม่ระวังตัว” และกับบางกรณีที่ได้เล่าไปข้างต้น ก็มีการกล่าวอ้างว่า “ก็อยากเป็นผู้ชายไม่ใช่เหรอ” หรือการกล่าวอ้างว่าถ้ามีอะไรกับผู้ชายก็จะกลายเป็นผู้หญิงเอง
การโยนความผิดหรือการกล่าวอ้างเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นคำอ้างใดก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะเห็นด้วยกับการคุกคามหรือล่วงละเมิดผู้อื่น ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม ก็เป็นการกระทำที่ผิดแทบทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่ควรมีใครเข้าข้างคนที่คุกคามคนอื่นหรือหาเรื่องกล่าวโทษคนที่ถูกกระทำ
ในช่วงหลัง ถ้าเราติดตามข่าวสาร เราอาจจะสังเกตเห็นคนที่มีบทบาททางสังคมหลายคนที่มองข้ามการคุกคามทางเพศของคนที่เป็นพรรคพวกหรือคนที่อยู่ในพรรคการเมืองที่ตัวเองชื่นชอบ แต่ไม่ว่าการถูกมองข้าม การทำเป็นมองไม่เห็น การบอกว่าเป็นเรื่องของคนนั้นไม่ใช่เรื่องของคนนี้ที่เราชอบที่อยู่ในกลุ่มนั้น การที่คนเหล่านี้เพิกเฉย มองข้าม ทำเป็นไม่สนใจ ไม่ว่าเขาจะเคยมีบทบาทในการทำประโยชน์เพื่อสังคมขนาดไหน แต่การเพิกเฉย มองข้าม ไม่พูดถึง ก็เหมือนกับคนคนนั้นยอมรับกระทำเช่นนั้นได้ นั่นทำให้คนเหล่านั้นไม่น่าเชื่อถือในทางสังคมอีกต่อไป
ปัญหาการคุกคามทางเพศไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แม้ไม่ใช่เรื่องที่เกิดกับตัวเองแต่ก็ไม่ควรเกิดขึ้นกับใคร ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ควรมีการปลูกฝังความคิด จิตสำนึก การให้เกียรติทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับLBT
ข้อมูลเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย : การล่วงละเมิดทางเพศ คือ การกระทำทารุณกรรมทางเพศที่บุคคลหนึ่งตั้งใจสัมผัสทางเพศผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม จากบุคคลนั้น หรือบังคับหรือบังคับทางร่างกายให้บุคคลนั้นกระทำการทางเพศ โดยขัด ต่อความประสงค์ของบุคคลนั้น
รูปแบบหนึ่งของความรุนแรงทางเพศซึ่งรวมถึง การล่วงละเมิดทางเพศเด็กการลวนลามการข่มขืน (การสอดใส่ทางเพศโดยบังคับ ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม) การล่วงละเมิดทางเพศโดยใช้ยาเสพติดและการทรมานบุคคลนั้นในลักษณะทางเพศ
คำนิยาม
โดยทั่วไปการล่วงละเมิดทางเพศหมายถึงการติดต่อทางเพศที่ไม่พึงประสงค์ศูนย์แห่งชาติเพื่อเหยื่ออาชญากรรมระบุว่า:
การล่วงละเมิดทางเพศมีหลายรูปแบบ เช่น การข่มขืนหรือพยายามข่มขืน ตลอดจนการสัมผัสหรือข่มขู่ทางเพศที่ไม่พึงประสงค์ โดยทั่วไปการล่วงละเมิดทางเพศจะเกิดขึ้นเมื่อมีคนสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายของผู้อื่นในทางเพศ แม้จะผ่านเสื้อผ้าก็ตาม โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้น