การตีตรา

เสียงของผู้ไร้เสียง : Voice of the Voiceless

เมื่อวันที่ 18 – 19 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา ณ อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ได้จัดการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน: ประชากรกลุ่มเฉพาะ” ซึ่งรวบรวมผู้เชี่ยวชาญ ภาคีเครือข่าย และนักวิชาการจากหลายหน่วยงาน เพื่อเปิดพื้นที่รับฟังมิติความหลากหลายของประชากรกลุ่มเปราะบาง   หลายคนอาจมีคำถามที่ว่า “ทำไมต้องใส่ใจกับประชากรกลุ่มเปราบาง” ทั้งที่สัดส่วนเมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศมีเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์  หากเราศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ ซึ่งให้ความหมายว่า ปัจจัยที่มีส่วนในการกำหนดสถานะสุขภาพของประชากร ตั้งแต่เกิด ดำรงชีวิต ทำงาน การเข้าสู่ช่วงสูงวัย ไปจนถึงการเสียชีวิต เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านสุขภาพ  ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ มีอิทธิพลสำคัญต่อประเด็นความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ซึ่งคือความแตกต่างของสถานะสุขภาพที่ไม่เป็นธรรมและหลีกเลี่ยงได้ทั้งเกิดขึ้นภายในและระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับใด สุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชนนั้นจะแปรผันไปตามลำดับชั้นของสังคม ยิ่งสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของบุคคลนั้นอยู่ระดับล่างเท่าไร ก็จะมีแนวโน้มที่จะสุขภาพแย่ลงไปด้วย   สุขภาพที่ไม่เท่ากัน : ความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพกับประชากรกลุ่มเฉพาะ  “ความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ” กลายเป็นเครื่องสะท้อนความไม่เป็นธรรมเชิงโครงสร้างที่ดำรงอยู่เรื้อรัง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึง “ประชากรกลุ่มเฉพาะ” ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่มีลักษณะทางสังคม วัฒนธรรม หรือเศรษฐกิจ ที่แตกต่างหรือเปราะบางกว่าคนทั่วไป เช่น ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ […]

เสียงของผู้ไร้เสียง : Voice of the Voiceless Read More »

ความจริงที่ไม่เคยถูกรวบรวม:  งานวิจัยสำรวจประชากร LGBTQ+ ไทยในระดับครัวเรือน

“การสำรวจนี้ไม่ใช่แค่เก็บตัวเลข แต่คือการประกาศว่าเพศหลากหลายมีอยู่จริง มีจำนวนจริง และต้องถูกรับรู้ในทุกระดับของสังคม” ในอดีต การพูดถึงกลุ่ม LGBTQ+ ในประเทศไทยมักอิงจากความรู้สึก วาทกรรม หรือความคิดเห็นในวงจำกัดมากกว่าจะมีข้อมูลจริงรองรับ เราอาจ “รู้สึกว่า” มีคนเพศหลากหลายอยู่ทั่วไป แต่เราไม่เคย “รู้จริง” ว่ามีจำนวนมากน้อยแค่ไหน กระจายตัวอย่างไร หรือพวกเขาเผชิญกับอะไรในชีวิตประจำวัน สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวทีเผยแพร่ผลวิจัย “หลากหลายใต้ตัวเลข : ชีวิตทางเพศ LGBTIQN+ไทย” เพื่อสะท้อนข้อเท็จจริงจากการสำรวจประชากรกลุ่มเพศหลากหลายอย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรกของประเทศ เชื่อมโยงองค์ความรู้สู่การขับเคลื่อนสังคมไทยให้ปลอดภัยและเท่าเทียมสำหรับทุกอัตลักษณ์ทางเพศ   (ข้อมูลจาก :  https://today.line.me/th/v3/article/PGQjYZR) การสำรวจครั้งนี้ถือเป็น หมุดหมายสำคัญของประเทศไทย เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการเก็บข้อมูลประชากร LGBTQ+ อย่างเป็นระบบ ครอบคลุม และอ้างอิงได้ งานวิจัยดังกล่าวจำลอง “การสำรวจมโนประชากร”   โดยใช้พื้นที่นำร่องคือ จังหวัดราชบุรี เข้าไปสอบถามเพศสภาพของสมาชิกทุกคนในแต่ละครัวเรือนกว่า 2,466 ครัวเรือน คล้ายกับที่สำนักงานสถิติแห่งชาติใช้ในสำรวจมโนประชากร แต่ในครั้งนี้เน้นไปที่ “เพศสภาพ” และ “อัตลักษณ์ทางเพศ” โดยตรง นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลจากเยาวชนระดับมัธยม อาชีวศึกษา

ความจริงที่ไม่เคยถูกรวบรวม:  งานวิจัยสำรวจประชากร LGBTQ+ ไทยในระดับครัวเรือน Read More »

เปลี่ยน Pride ให้กลายเป็นพลังเปลี่ยนสังคม

ในเดือนมิถุนายนของทุกปี หลายเมืองทั่วโลกจัดกิจกรรม Pride เพื่อเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ  แต่สำหรับหลายคน Pride คือมากกว่านั้น เพราะมันคือพื้นที่ของการแสดงตัวตน การเรียกร้องสิทธิ และการยืนยันว่าทุกคนควรมีโอกาสใช้ชีวิตอย่างเท่าเทียม คำถามสำคัญคือ: เราจะทำอย่างไรให้ Pride ไม่ใช่เพียงงานเฉลิมฉลอง แต่เป็นพลังที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้จริง แม้ในหลายประเทศจะมีความก้าวหน้าในด้านสิทธิมนุษยชน แต่ยังมีคนจำนวนมากที่เผชิญกับความรุนแรง การเลือกปฏิบัติ และการถูกปฏิเสธจากครอบครัวหรือชุมชน เพียงเพราะพวกเขาเป็น LGBTQ+ ในประเทศไทยเอง แม้จะมี Pride Parade และการสนับสนุนจากภาคธุรกิจมากขึ้น แต่สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น การสมรสเท่าเทียม การคุ้มครองคนข้ามเพศ หรือการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ปลอดภัย ยังไม่ได้รับการรับรองอย่างเต็มที่ Pride จึงไม่ควรถูกมองว่าเป็นเพียงเทศกาลหรือกิจกรรมประจำปีเท่านั้น แต่ควรถูกใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างบทสนทนาและการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน มันคือช่วงเวลาที่เสียงของผู้คนซึ่งเคยถูกทำให้เงียบหาย มีโอกาสได้เปล่งออกมาอย่างชัดเจน และควรเป็นช่วงเวลาที่สังคมตั้งคำถามกับตัวเองว่า ได้เดินหน้าไปไกลแค่ไหนในเรื่องความเท่าเทียม และยังเหลืออะไรอีกบ้างที่ต้องเปลี่ยนแปลง จุดเริ่มต้นของ Pride: จากการต่อต้านสู่การขับเคลื่อน เมื่อพูดถึง Pride หลายคนอาจนึกถึงขบวนพาเหรดที่เต็มไปด้วยสีสัน ดนตรี และการเฉลิมฉลอง แต่หากย้อนกลับไปยังต้นกำเนิดของมัน จะพบว่า Pride เกิดขึ้นจากการลุกขึ้นต่อต้านของชุมชน LGBTQ+ ที่ถูกกดขี่อย่างหนักในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในกรณีของ “เหตุการณ์จลาจลที่สโตนวอลล์ (Stonewall

เปลี่ยน Pride ให้กลายเป็นพลังเปลี่ยนสังคม Read More »

ชีวิต LGBTQ+ รุ่นสูงวัย: ความท้าทายและแสงสว่างที่ยังมีอยู่

“เราไม่ใช่แค่ผู้รอดชีวิตจากการกดขี่ในอดีต แต่เราคือผู้ก่อร่างสร้างโลกใบนี้ให้ดีกว่าเดิมสำหรับรุ่นใหม่”  – – คำกล่าวของสมาชิก LGBTQ+ รุ่นสูงวัยจากงาน Global Pride Seniors Forum เมื่อพูดถึงความหลากหลายทางเพศ เรามักนึกถึงพลังของคนรุ่นใหม่ที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ์และการยอมรับ แต่เบื้องหลังความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น มีเสียงเงียบ ๆ ของกลุ่มคนที่ “ปูทาง” ให้รุ่นหลังได้เดินอย่างมั่นคง พวกเขาคือกลุ่ม LGBTQ+ รุ่นสูงวัย ผู้ที่ผ่านยุคแห่งการล่าแม่มดทางเพศ การกดทับทางสังคม และการถูกลืมในนโยบายสาธารณะ แม้จะต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเงียบเหงาและการไม่ยอมรับ แต่พวกเขายังคงยืนหยัดด้วยศักดิ์ศรี ด้วยความรัก และด้วยความหวัง นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของเพศ แต่คือเรื่องของมนุษยธรรม ความแก่ และศักดิ์ศรีของการมีตัวตน ความเหงาและการแยกตัวทางสังคม “ไม่ใช่ทุกคนที่แก่ตัวไปพร้อมครอบครัว และไม่ใช่ทุกครอบครัวที่ยอมรับว่าเราคือใคร” สำหรับผู้สูงวัยทั่วไป ครอบครัว ลูกหลาน และเครือญาติเป็นระบบสนับสนุนหลักในช่วงท้ายของชีวิต แต่สำหรับคนรุ่นเก่าในกลุ่ม LGBTQ+ เรื่องนี้กลับไม่ได้เป็นจริงเสมอไป LGBTQ+ รุ่นสูงวัยจำนวนมากเติบโตในยุคที่การเปิดเผยตัวตนมีความเสี่ยงสูง ทั้งด้านกฎหมาย สังคม และศาสนา หลายคนจึงไม่เคยแต่งงานหรือมีลูกตามขนบ หรืออาจเคยถูกบังคับให้ใช้ชีวิตในแบบที่ไม่ได้เลือก แม้บางคนจะมีคู่ชีวิต แต่การจดทะเบียนไม่สามารถทำได้ในหลายประเทศ จึงไม่มีสิทธิ์ทางกฎหมายในเรื่องทรัพย์สิน การเยี่ยมไข้ หรือแม้แต่การตัดสินใจทางการแพทย์ ผู้สูงวัย

ชีวิต LGBTQ+ รุ่นสูงวัย: ความท้าทายและแสงสว่างที่ยังมีอยู่ Read More »

LBTQ+ ไทย 2025: คนเพิ่ม เสียงยังเบา

ในปี 2025 นี้ ประเทศไทยยังคงเป็นหนึ่งในประเทศเอเชียที่มีภาพลักษณ์เปิดกว้างต่อกลุ่ม LGBTQ+ มากที่สุด ทว่าเมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปกว่าภาพบนโซเชียลมีเดียหรือวงการบันเทิง จะพบว่าความเสมอภาคทางสิทธิ์ยังคงเป็นประเด็นที่ติดหล่มและไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ในปี 2025 ประเทศไทยยังคงได้รับการขนานนามว่าเป็น “สวรรค์” ของกลุ่ม LGBTQ+ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายเมืองใหญ่มีงาน Pride Parade อย่างเปิดเผย ธุรกิจจำนวนไม่น้อยก็ใช้ความหลากหลายทางเพศเป็นจุดขายทางการตลาด และสื่อบันเทิงไทยก็เต็มไปด้วยตัวละครและนักแสดง LGBTQ+ ที่ได้รับความนิยม    อย่างไรก็ตาม ภายใต้ฉากหน้าแห่งความ “เปิดกว้าง” นี้ กลับยังมีความเหลื่อมล้ำในหลายมิติที่ถูกมองข้าม หรือไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมาแก้ไขอย่างจริงจัง     จำนวนเพิ่มขึ้น สะท้อนการยอมรับ…แต่แค่บางมิติ จากข้อมูลของหลายองค์กรและการสำรวจทางสังคม จำนวนผู้ที่ระบุอัตลักษณ์ทางเพศนอกเหนือจากชายหญิงเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Z และ Gen Alpha ที่เติบโตมากับแนวคิดความหลากหลายทางเพศที่เปิดกว้าง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ไม่ได้สะท้อนความปลอดภัยหรือความมั่นคงทางสิทธิ์ในชีวิตประจำวันของคน LGBTQ+ แต่อย่างใด จากการสำรวจโดยองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ที่แสดงออกและระบุอัตลักษณ์ว่าเป็น LGBTQ+ ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุ 15–35

LBTQ+ ไทย 2025: คนเพิ่ม เสียงยังเบา Read More »

อคติซ้อนอคติ : วงจรเงียบของการตีตราภายในชุมชนหลากหลายทางเพศ

“โอ้ย!!! ถ้าเรื่องถูกบูลลี่ก็มีบ้าง แต่ไม่ค่อยมีจากคนอื่นหรอก จะมีก็แต่พวกกระเทยด้วยกันนั่นแหล่ะที่บูลลี่กันเอง”    ผู้เขียนมีโอกาสจดบันทึกในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth Interveiw) ในเรื่องการตีตรา หรือ Stigma ในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยชื่อดังทางภาคเหนือ ในคำถามหนึ่งผู้สัมภาษณ์ได้คุยกับผู้ถูกสัมภาษณ์และถามเจาะตรงไปถึงเรื่องการถูกรังแกอันเนื่องมาจากเหตุแห่งเพศ  คำตอบของกลุ่มเป้าหมายท่านนี้ และอีกหลายๆ คนที่ตอบในทำนองคล้ายกัน ทำให้ฉุกคิดถึงปรากฎการณ์ในช่วงนี้ที่สถานบันเทิงสำหรับหญิงรักหญิงแห่งหนึ่งจัดโฆษณากิจกรรม “วันเลสฯ ล้วน” ด้วยข้อความที่ว่า “มีบาร์สำหรับเลสเบี้ยนแล้วรู้ยัง ไม่มีทอมหรือทรานส์แมนให้กังวลด้วย”  (ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/1Fr5qAMBiy/?mibextid=wwXIfr)  ในช่วงก่อนหน้าไม่นาน มีการนำเสนอถึงกลุ่มสังคมหญิงรักหญิงด้วยกันที่พูดถึงผู้หญิงที่เป็นไบเซ็กช่วลว่า “โลเล ไม่เลือกสักทาง” หรือ “เดี๋ยวก็กลับไปคบผู้ชาย” ด้วยน้ำเสียงเชิงกีดกัน (ที่มา: https://hon.co.th/bisexual/)  ปรากฎการณ์ดังกล่าวยังสะท้อนถึง “การตีตรา” และ “เลือกปฏิบัติ” แม้แต่ในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศด้วยกันเอง ไม่ต่างจากสังคมในส่วนอื่นๆ ที่ก็มองเข้ามายังกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศด้วยอคติ ตีตรา และเลือกปฏิบัติ หลายกรณียังส่งผลไปสู่การรังแก ทำร้ายร่างกายและจิตใจ ฯลฯ ด้วยวิธีการต่างๆ ความหมายอย่างย่อของการตีตราและการเลือกปฏิบัติ การตีตรา (Stigma) หมายถึง การที่บุคคลหรือกลุ่มคนถูกมองว่า “มีข้อเสีย” หรือ “แตกต่างจากคนทั่วไป”

อคติซ้อนอคติ : วงจรเงียบของการตีตราภายในชุมชนหลากหลายทางเพศ Read More »

ยิ้มให้ แต่ไม่ให้สิทธิ์ : หญิงไบเซ็กช่วลในโลกที่ไม่อยากให้เธอเลือกทางเอง”

“เป็นผู้หญิงก็โดนมองเบา เป็นไบก็โดนหาว่าโลเล อยู่ตรงกลางของโลกที่ไม่มีใครอยากให้เรายืนอยู่ตรงนั้น” ไม่นานมานี้มีข่าวคราวของดาราสาวชื่อดังประกาศมีสัมพันธ์รักกับดาราสาวที่อายุน้อยกว่าอีกท่านหนึ่งราวๆ 2 ปี  แต่หลังจากพวกเธอเลิกรากัน กลับพบคอมเมนต์ในหลายเว็บไซต์กลับกล่าวหาดาราท่านนี้และตัดสินรสนิยมทางเพศของเธอ เช่น “หลับตาก็รู้ว่าชอบผู้ชาย” หรือ “นึกว่าเป็น LBTQ งง กลับใจอีกแล้ว” ฯลฯ  ความคิดเห็นเหล่านี้สะท้อนถึงอคติที่มีต่อผู้ที่มีรสนิยมไบเซ็กชวลในสังคม กรณีนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของปรากฎการณ์ที่นอกเหนือไปจาก โฮโมโฟเบีย แต่เกิดคำเรียกที่ว่า  ไบโฟเบีย (Biphobia) หรือความเกลียดกลัวไบเซ็กชวล ที่ยังคงมีอยู่ในสังคมไทย ผู้หญิงที่มีความสัมพันธ์กับทั้งผู้ชายและผู้หญิงมักถูกมองว่าโลเล หรือไม่จริงใจ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและการยอมรับตัวตนของพวกเธอ และเป็นที่น่าสนใจว่าคำตัดสินถึงรสนิยมทางเพศแบบไบเซ็กชวลของดาราท่านนี้เกิดขึ้นในคอมมูนิตี้หญิงรักหญิงด้วยกันเอง    (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://themomentum.co/gender-bisexual)  ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับไบเซ็กชวล (Bisexuality) อาจไม่ใช่แค่เรื่องของความสับสน แต่เป็นภาพจำผิดๆ ที่ฝังลึกในโครงสร้างทางวัฒนธรรมและความคิดของสังคม อคติเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มคนทั่วไปเท่านั้น แต่ยังแทรกซึมอยู่แม้กระทั่งในคอมมูนิตี้ LGBTQ+ เอง ซึ่งควรจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกความหลากหลายทางเพศ หนึ่งในอคติที่พบได้บ่อยคือการมองว่า “ไบคือคนโลเล” หรือ “เลือกไม่ได้เลยเลือกทั้งสอง” ซึ่งสะท้อนถึงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวตนของคนที่รักได้มากกว่าหนึ่งเพศ มันไม่ใช่การลังเล ไม่ใช่การเอาเปรียบ และไม่ใช่การเปลี่ยนใจไปมา แต่มันคืออัตลักษณ์ทางเพศที่มั่นคงและแท้จริง  เพียงแค่ยังไม่เป็นที่เข้าใจ ในบางกรณี ไบเซ็กชวลยังถูกตีตราว่าเป็น “ช่วงเปลี่ยนผ่าน”

ยิ้มให้ แต่ไม่ให้สิทธิ์ : หญิงไบเซ็กช่วลในโลกที่ไม่อยากให้เธอเลือกทางเอง” Read More »

LGBTQ Retreat : พักผ่อน เติมเต็ม และเติบโต 

การพักผ่อน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจของทุกคนได้ดียิ่ง โดยเฉพาะกลุ่ม LGBTQ ซึ่งอาจต้องเผชิญกับความเครียดที่แตกต่างออกไป  ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับอคติทางสังคม การต่อสู้เพื่อการยอมรับทั้งในตัวเอง เพื่อนฝูง ครอบครัว  การให้เวลากับตัวเองเพื่อการพักผ่อนและทบทวนสุขภาวะของเราจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก การพักผ่อนกับ Retreat แตกต่างกันอย่างไร ทำไม Retreat จึงมีความสำคัญ แม้ว่าการพักผ่อนและ Retreat อาจดูเป็นแนวคิดที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองอย่างมีความเชื่อมโยงกัน  จะเห็นได้ว่า การพักผ่อนหมายถึงการให้ร่างกายและจิตใจได้หยุดพักจากความเครียดและความวุ่นวายในชีวิตประจำวัน ขณะที่ Retreat เป็นการพักผ่อนในเชิงลึก ที่มีการตั้งใจจัดสรรเวลาเพื่อฟื้นฟูสุขภาพจิตใจ อารมณ์ และพลังงานของตัวเอง สร้างสมดุลระหว่างชีวิต การพักผ่อน และการ Retreat  ในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วและเต็มไปด้วยความเร่งรีบ การสร้างสมดุลระหว่างชีวิต การทำงาน และการพักผ่อนกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง หลายคนมุ่งมั่นทุ่มเทให้กับงานหรือภาระหน้าที่จนละเลยการดูแลตนเอง ส่งผลให้เกิดความเครียดและความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ การมีเวลาสำหรับการพักผ่อนอย่างเหมาะสม ไม่เพียงช่วยฟื้นฟูพลังงาน แต่ยังเสริมสร้างสุขภาพและความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย หนึ่งในแนวทางที่ได้รับความนิยมมากขึ้นคือการ Retreat หรือการถอยกลับไปใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและมีสติ อาจเป็นการเดินทางไปสถานที่เงียบสงบ การปลีกตัวจากเทคโนโลยี หรือการฝึกสมาธิเพื่อเติมเต็มพลังชีวิต การ Retreat ไม่ใช่เพียงแค่การพักผ่อน แต่เป็นกระบวนการฟื้นฟูและทบทวนตัวเองอย่างลึกซึ้ง ซึ่งช่วยให้เรากลับมามีสมดุลและพร้อมเผชิญกับความท้าทายของชีวิตด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งขึ้น การสร้างสมดุลที่ดีระหว่างงาน การพักผ่อน และการ

LGBTQ Retreat : พักผ่อน เติมเต็ม และเติบโต  Read More »

พื้นที่ปลอดภัยที่รู้สึกเหมือนบ้าน

ทุกคนล้วนต้องการสถานที่ที่ทำให้รู้สึกปลอดภัย อบอุ่น และเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เราอาจเรียกสถานที่เช่นนี้คือ “พื้นที่ปลอดภัย” ที่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านจริง ๆ หรือสถานที่อื่นๆ ที่ทำให้เรารู้สึกว่าได้รับการยอมรับและสามารถเป็นตัวเองได้ เครือข่ายสุขภาพและโอกาส (Health and Oppitunity Network) หรือที่กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในพัทยารู้จักกันดีในชื่อของ HON โดย ทฤษฎี สว่างยิ่ง บงกช บุญประสาน สนธยา ห้วยหงส์ทอง  กุสุมา จันทร์มูล  และอาสาสมัคร LBTQ อีกหลายท่านช่วยกันเนรมิตสถานที่แห่งนี้ให้เป็นสถานที่สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันในนาม HON BKK  และในวันที่ 16 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา HON BKK ได้มีโอกาสเปิดบ้านต้อนรับผู้ที่มาเยี่ยมเยียนเป็นครั้งแรก  Open House – วันเปิดบ้าน เมื่อเดินผ่านประตูรั้วสีเขียวเข้ามาในบริเวณบ้าน ทุกคนต่างประทับใจกับสนามหญ้าสีเขียวที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี หลายคนอุทานว่า “น่ามากางเต๊นส์นอนกลางสนาม”       นอกจากสีเขียวของสนามหญ้า เราจะเห็นตัวบ้านไม้สีเหลืองอยู่ท่ามกลางต้นไม้ เป็นรูปแบบบ้านที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยและคุ้นตาในวัยเด็ก   ในเรื่องนี้บ้านหลังนี้ ทฤษฎี สว่างยิ่ง ผู้อำนวยการเครือข่ายสุขภาพและโอกาส

พื้นที่ปลอดภัยที่รู้สึกเหมือนบ้าน Read More »

10 ประเด็นทางสังคมและปัญหาที่ LGBTQ ทั่วโลกเผชิญ

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา สิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ได้รับการยอมรับมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งในด้านกฎหมายและสังคม อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด แต่ชุมชน LGBTQ ยังคงเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรคมากมายที่สะท้อนถึงปัญหาทางสังคม วัฒนธรรม และโครงสร้างทางกฎหมายที่ยังคงเลือกปฏิบัติในหลายพื้นที่   ปัญหาที่กลุ่ม LGBTQ ต้องเผชิญมีหลากหลายแง่มุม ตั้งแต่การถูกกีดกันในครอบครัวและสังคม การถูกเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน ไปจนถึงการขาดสิทธิทางกฎหมายที่เท่าเทียมกับคนรักต่างเพศ ในบางประเทศ คนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศและรสนิยมทางเพศที่แตกต่างยังคงต้องเผชิญกับการลงโทษทางกฎหมาย การเลือกปฏิบัติ และความรุนแรงที่เกิดจากความเกลียดชัง (hate crimes)    แม้แต่ในประเทศที่มีกฎหมายรองรับสิทธิ LGBTQ แล้ว อคติและทัศนคติแบบเหมารวมยังคงเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดการกีดกันในระดับสังคม นอกจากนี้ สุขภาพจิตของคนในกลุ่ม LGBTQ ก็เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากพวกเขามีแนวโน้มเผชิญกับความเครียด วิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าจากแรงกดดันทางสังคม รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพและการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม   เราจะพาไปสำรวจ 10 ประเด็นทางสังคมและปัญหาสำคัญที่ LGBTQ ทั่วโลกเผชิญ เพื่อให้เห็นถึงอุปสรรคที่ยังคงมีอยู่ และสะท้อนถึงความจำเป็นในการสร้างสังคมที่เท่าเทียมและครอบคลุมสำหรับทุกคน 1. การเลือกปฏิบัติและการขาดสิทธิทางกฎหมาย 1.1 บางประเทศยังคงมีกฎหมายที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แม้ว่าหลายประเทศทั่วโลกจะมีการพัฒนาในด้านสิทธิของ LGBTQ+ มากขึ้น แต่ในบางประเทศกลับยังมีกฎหมายที่กำหนดให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในบางพื้นที่ของแอฟริกา

10 ประเด็นทางสังคมและปัญหาที่ LGBTQ ทั่วโลกเผชิญ Read More »