LBT-Well Being

The Miseducation of Cameron Post

รีวิวหนังสือ:   (The Miseducation of Cameron Post) โดย Emily M. Danforth “The Miseducation of Cameron Post” เป็นนิยายที่สำรวจเรื่องราวของการค้นหาตัวตนและการยอมรับความรักระหว่างผู้หญิงในสังคมที่มีความเชื่อที่เข้มงวดและไม่ยอมรับความรักเพศเดียวกันเรื่องราวเริ่มต้นเมื่อ แคเมรอนโพสต์ (Cameron Post) สาวน้อยวัยรุ่นที่เติบโตในรัฐมอนแทนาในครอบครัวที่เคร่งศาสนา ได้เผชิญกับการสูญเสียพ่อแม่และการค้นพบความรักกับเพื่อนหญิงที่ชื่อว่า เจมี่ ในขณะที่แคเมรอนต้องพยายามต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเองและการยอมรับจากสังคมที่ยังไม่เข้าใจความรักของเธอ เมื่อแคเมรอนถูกจับได้ว่ารักเพศเดียวกัน ครอบครัวและสังคมไม่ยอมรับ และส่งเธอไปยัง ศูนย์ฟื้นฟูการรักษาผู้รักเพศเดียวกัน (gay conversion therapy) ที่มีวิธีการบังคับและปราบปรามความเป็นตัวตนของเธอ ภายในศูนย์นั้นแคเมรอนได้พบกับเพื่อนใหม่ที่มีประสบการณ์คล้ายกัน แต่ทั้งสามก็ยังคงพยายามรักษาความเป็นตัวเองท่ามกลางความกดดันที่พวกเขาต้องเผชิญ หนังสือเล่มนี้มีความลึกซึ้งในแง่ของการสำรวจความรู้สึกภายในของตัวละครและการแสดงออกถึงความยากลำบากในการค้นหาความรักในสถานการณ์ที่ท้าทาย ท่ามกลางการขัดแย้งทางศีลธรรมและการยอมรับจากสังคม มันเป็นการต่อสู้ที่ทั้งเจ็บปวดและมีความหวัง พร้อมทั้งมีการถ่ายทอดความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครในรูปแบบที่ละเอียดและทำให้ผู้อ่านเห็นถึงความเข้มแข็งของการรักและการอยู่รอด รีวิวภาพยนตร์: (The Miseducation of Cameron Post) ภาพยนตร์ดัดแปลงจากนิยายของ Emily M. Danforth นำเสนอเรื่องราวในแบบที่ละเอียดอ่อนและมีอารมณ์ร่วม โดยผู้กำกับ Desiree Akhavan ได้ถ่ายทอดการเดินทางของแคเมรอนในฐานะสาววัยรุ่นที่ถูกส่งไปที่ศูนย์ฟื้นฟูการรักษาความเป็นเกย์ หลังจากที่เธอถูกจับได้ว่ามีความสัมพันธ์กับเพื่อนหญิง นักแสดงนำ […]

The Miseducation of Cameron Post Read More »

พื้นที่ปลอดภัยสำหรับ LBQ+: สร้างความเข้าใจและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม

ในสังคมที่หลากหลายทางเพศและวัฒนธรรม การสร้าง “พื้นที่ปลอดภัย” สำหรับกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะกลุ่ม LBQ+ (Lesbian, Bisexual, Queer และกลุ่มคนที่ไม่ได้ระบุเพศชัดเจน) มีความสำคัญอย่างยิ่ง การสร้างพื้นที่เหล่านี้ไม่ได้หมายถึงเพียงการให้สถานที่ทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อความสบายใจ การยอมรับ และการเคารพซึ่งกันและกัน พื้นที่ปลอดภัยคืออะไร? พื้นที่ปลอดภัย (Safe Space) คือสถานที่หรือสภาพแวดล้อมที่บุคคลสามารถแสดงตัวตน ความคิดเห็น และความรู้สึกได้โดยไม่ต้องกลัวการถูกปฏิเสธ วิพากษ์วิจารณ์ หรือทำร้าย ไม่ว่าจะเป็นทางคำพูดหรือการกระทำ สำหรับกลุ่ม LBQ+ พื้นที่ปลอดภัยนี้สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความมั่นใจว่าเสียงของพวกเขาจะได้รับการรับฟัง และตัวตนของพวกเขาจะได้รับการเคารพอย่างแท้จริง ความสำคัญของพื้นที่ปลอดภัยสำหรับ LBQ+ 1. ลดการเลือกปฏิบัติ กลุ่ม LBQ+ มักเผชิญกับการเลือกปฏิบัติในรูปแบบต่างๆ เช่น คำพูดที่บั่นทอน การกระทำที่ไม่เคารพ หรือการขาดโอกาสในหลายๆ ด้าน พื้นที่ปลอดภัยช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ และส่งเสริมให้ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม 2. ส่งเสริมสุขภาพจิต สภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและสนับสนุนสามารถลดความเครียด ความวิตกกังวล และความรู้สึกโดดเดี่ยวของกลุ่ม LBQ+ การมีพื้นที่ปลอดภัยช่วยให้พวกเขาสามารถแสดงตัวตนอย่างเต็มที่ และได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม 3. กระตุ้นความเข้าใจและการเรียนรู้ร่วมกัน พื้นที่ปลอดภัยเปิดโอกาสให้ผู้คนในสังคมได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและความสำคัญของการเคารพสิทธิของผู้อื่น ช่วยลดอคติและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่มคนหลากหลาย

พื้นที่ปลอดภัยสำหรับ LBQ+: สร้างความเข้าใจและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม Read More »

อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity): ความหมาย ความสำคัญ และการยอมรับในสังคม

ความหมายของอัตลักษณ์ทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) หมายถึงการรับรู้และความเข้าใจของบุคคลเกี่ยวกับเพศของตนเอง ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่ที่เพศชายหรือเพศหญิงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความหลากหลายทางเพศที่อยู่นอกกรอบของเพศแบบไบนารี (Binary Gender) เช่น คนข้ามเพศ (Transgender), คนไม่ระบุเพศ (Non-binary), หรือเพศที่ลื่นไหล (Gender-fluid) อัตลักษณ์ทางเพศไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับเพศที่บุคคลได้รับการกำหนดตั้งแต่เกิด และเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้บุคคลรู้สึกถึงความเป็นตัวเองและความสมดุลทางอารมณ์   ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์ทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศเป็นผลลัพธ์ของปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยทางชีวภาพ เช่น ฮอร์โมนและโครงสร้างสมอง ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม เช่น บทบาททางเพศที่สังคมกำหนด และประสบการณ์ส่วนตัวที่หล่อหลอมความคิดและความรู้สึกของบุคคล การพัฒนาของอัตลักษณ์ทางเพศเริ่มตั้งแต่วัยเด็กและอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อบุคคลเติบโตและสำรวจตัวเอง  ความสำคัญของการเข้าใจอัตลักษณ์ทางเพศ การทำความเข้าใจอัตลักษณ์ทางเพศช่วยให้เราเปิดรับความหลากหลายของมนุษย์และลดการเลือกปฏิบัติในสังคม ความไม่เข้าใจหรือการปฏิเสธอัตลักษณ์ทางเพศของผู้อื่นอาจนำไปสู่ปัญหาทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความซึมเศร้า หรือการถูกกีดกันทางสังคม ในทางกลับกัน การยอมรับและสนับสนุนสามารถสร้างความมั่นคงทางจิตใจและเพิ่มความสุขในชีวิต การแสดงออกทางเพศ (Gender Expression) การแสดงออกทางเพศเป็นวิธีที่บุคคลสื่อสารอัตลักษณ์ทางเพศของตนผ่านการแต่งกาย ท่าทาง หรือพฤติกรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับเพศที่สังคมคาดหวัง เช่น ผู้ชายที่เลือกแต่งกายในแบบที่ดู “เป็นผู้หญิง” หรือคนที่เลือกการแต่งกายแบบที่ไม่ระบุเพศ (Androgynous) ความท้าทายที่บุคคลเผชิญในสังคม แม้ว่าโลกจะมีความก้าวหน้าในการยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่บุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศแตกต่างยังคงเผชิญกับอุปสรรค เช่น การถูกเลือกปฏิบัติ

อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity): ความหมาย ความสำคัญ และการยอมรับในสังคม Read More »

แม้ไม่เห็นด้วยตา ก็ต้องเห็นด้วยใจ

แม้ไม่เห็นด้วยตา  ก็ต้องเห็นด้วยใจ : วัย อาชีพ ความพิการ ก็มองหาทางออกเดียวกัน   

แต่ละคนประสบปัญหาที่ไม่เหมือนกัน  แต่ก็มีรากของปัญหาจากที่มาเดียวกัน  การไปแก้ปมหรืออคติอาจจะต้องใช้เวลานาน แต่ทางแก้ที่จะทำให้คนได้เข้าถึงสิทธิการบริการด้านสุขภาพ สิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้เหมือนกันทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องลงมือทำได้ทันที สุมาลี โตกทอง  คณะทำงานของโครงการ LBT Wellbeing กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาของ LBT ที่มีที่มาจากการเก็บข้อมูลผ่านการสนทนากลุ่ม (Focus group)  การแลกเปลี่ยนปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข ทั้งที่ทำได้ด้วยตัวเอง ด้วยพลังของการสนับสนุนจากกลุ่ม ชุมชน  และการช่วยกันผลักดันให้หน่วยงานที่จัดการระบบได้พัฒนาการบริการต่างๆ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการใช้ชีวิตของ LBT ด้วย  ในแต่ละช่วงวัยนั้นประสบปัญหามากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน ปัญหาที่เกิดจากการไม่ถูกยอมรับ อคติ ที่ทำให้เกิดการตีตรา การเลือกปฏิบัตินั้น เป็นปัญหาที่ใหญ่มากในทุกระดับของสังคม ทั้งครอบครัว โรงเรียน ชุมชน  ที่ทำงาน บริบททางสังคม สิ่งแวดล้อม กระทบไปถึงการประกอบอาชีพ  ยิ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อนยิ่งประสบปัญหาหลายรูปแบบ ผลกระทบจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งและการรับมือของแต่ละคน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่พวกเขาต้องเผชิญคนเดียว เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทั้งสังคม ที่ต้องช่วยกันมองให้เห็นและเปลี่ยนแปลงให้ได้    ในด้านช่วงวัย มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนทั้ง กลุ่มเยาวชน วัยทำงาน และผู้สูงวัย สำหรับกลุ่มเยาวชนนั้นอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ความรู้

แม้ไม่เห็นด้วยตา  ก็ต้องเห็นด้วยใจ : วัย อาชีพ ความพิการ ก็มองหาทางออกเดียวกัน    Read More »

มองไม่เห็น LBT

“เพราะเราก็มีหัวใจ”  อยากให้คิดถึงและมองเห็นกัน

“LBT เป็นกลุ่มคนที่ถูกมองไม่เห็น ไม่ได้รับการยอมรับ ถูกตีตรา ถูกเลือกปฏิบัติ การทำกฎหมาย นโยบาย บริการต่างๆ ก็ไปนับรวม LBT ไว้กับกลุ่มอื่น ยิ่งไม่เข้าใจ ปัญหาของ LBT ก็ยิ่งไม่ถูกแก้ไข” ทฤษฎี สว่างยิ่ง ผู้อำนวยการ HON ทฤษฎี สว่างยิ่ง จากเครือข่ายสุขภาพและโอกาส  ที่ทำโครงการ LBT Wellbeing  เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม LBT  (L : Lesbian, B: Bisexual, T : Transgender, Tomboy)  ไปพร้อมกับการทำงานเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับกลุ่ม LBT เล่าถึงการทำงานในช่วงปี 2566 ถึงต้นปี 2567 ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.  ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่ามีกลุ่ม LBT อยู่มากมาย แต่การที่คนกลุ่มนี้จะออกมาพูดหรือบอกเล่าปัญหาของตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ดังนั้นสิ่งแรกคือการศึกษาวิจัยเพื่อทำเป็นข้อมูลยืนยันว่า ปัญหาต่างๆ ไม่ได้เกิดจากการคิดไปเอง  และแล้วจากการค้นหาข้อมูลด้วยการทำงานศึกษาวิจัย ทั้งสัมภาษณ์เชิงลึก ที่ต้องใช้นักวิจัยที่มีมุมมองของ feminism

“เพราะเราก็มีหัวใจ”  อยากให้คิดถึงและมองเห็นกัน Read More »

ขบวนการเคลื่อนไหว LBT ในเมืองไทย

ขบวนการเคลื่อนไหว LBT ในเมืองไทย : อวยพร เขื่อนแก้ว

จากปาฐกถา LBTQ Community Festival : อัตลักษณ์ ตัวตนของ LBTQ ที่ไม่ถูกมองเห็น  30 มิถุนายน 2567 “ขบวนการเคลื่อนไหวของเมืองไทย ผูกติดกับการเคลื่อนไหวของเฟมินิสต์ระดับโลกซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว และเฟมินิสต์คือคนที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องเรื่องสิทธินั้นทําหลายเรื่องมาก  ตั้งแต่สิ่งแวดล้อม ต่อต้านสงคราม แต่ไม่ถูกมองเห็น” ขบวนการเคลื่อนไหวนี้  พอจะแบ่งได้เป็น 4 คลื่น (4 Wave)  คลื่นลูกแรก มาจากอเมริกา เพราะเป็นประเทศที่อยู่ในสื่อตลอด เพราะฉะนั้นการเคลื่อนไหวของอเมริกาก็ถูกจับตาและถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มีเฟมินิสต์ที่ลุกขึ้นมาสู้เรื่องตัวเองในประเทศแอฟริกา ในเอเชีย ในที่อื่นๆ ไม่มี   ในหลายประเทศ คลื่นลูกแรกของเฟมินิสต์ คือการเรียกร้องเรื่องสิทธิการเมือง ก็คือการเลือกตั้ง เพราะในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1920 ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ดังนั้น เรียกได้ว่า สิทธิการเลือกตั้งก็คือสิทธิทางการเมือง  จากนั้น ก็เป็นสิทธิแรงงาน เนื่องจากผู้หญิงออกจากภาคเกษตรมาทําอุตสาหกรรม แต่ค่าจ้างได้น้อยกว่า ดังนั้นก็จะเป็นกระแสนี้ในคลื่นลูกที่หนึ่ง  คลื่นลูกที่สอง  จะเป็นเรื่องที่เรียกว่า Personal is Political เรื่องส่วนคือ เรื่องการเมือง

ขบวนการเคลื่อนไหว LBT ในเมืองไทย : อวยพร เขื่อนแก้ว Read More »

LBT กับ VUCA World และสุขภาวะ 5 มิติ

LBT กับ VUCA World และสุขภาวะ 5 มิติ

LBT กับ VUCA World: การรับมือความท้าทายในโลกยุคใหม่ ในโลกยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว หรือที่เรียกว่า VUCA World (Volatility, Uncertainty, Complexity, Ambiguity)      การเคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะ LBT ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ทั้งในเชิงสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เรียกได้ว่ามักจะเกิดความเปลี่ยนแปลงและมีเรื่องที่ไม่คาดฝันอยู่ตลอดเวลา     ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนทางเศรษฐกิจที่คาดเดาได้ยากส่งผลต่อการทำมาหากินของทุกคน การพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้โลกของเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ใครไม่ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ก็จะอยู่ยากมากขึ้น อย่างสวัสดิการรัฐของประไทยก็ต้องใช้อุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือในการเข้าถึง หรือเหตุการก่อการร้ายและการจราจลที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครทราบล่วงหน้า ฯลฯ    ดังนั้นคำว่า VUCA  World นี้ ในมุมมองขององค์กรที่สนใจการจัดการความรู้ต่างๆ จะเน้นย้ำและให้สำคัญมาก จำเป็นต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้  ซึ่งคำว่า VUCA นี้ ย่อมาจาก 1. Volatility (ความผันผวน): การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไม่คาดคิด 2. Uncertainty (ความไม่แน่นอน): การขาดความชัดเจนในอนาคต 3. Complexity (ความซับซ้อน): ปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวพันกัน

LBT กับ VUCA World และสุขภาวะ 5 มิติ Read More »

LBT Well Being กับ สุขภาวะ 5 ด้าน

LBT Well Being กับ สุขภาวะ 5 ด้าน

“นึกถึงแบบทดสอบที่ให้คะแนน 1-10”  เมื่อได้ยินคำนี้แล้วผู้เขียนรู้สึก เอ๊ะ!! แต่เมื่อเงี่ยหูฟังต่อก็ได้คำตอบ   จากคำถามที่ว่า “คำว่า สุขภาวะ” ในความหมายหรือความเข้าใจของเราคืออะไร  นักศึกษาแพทย์หน้าใสคนนี้เล่าให้เพื่อนที่ได้จับคู่กันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เล่าว่า เวลาเปิดหนังสือ นิตยสาร จะมีคอลัมน์ตอบคำถามทายนิสัย  หรือ Quiz Game แบบทดสอบที่มักจะมี Ranking 1-10 แล้วให้เราอ่านเฉลยหรือคำทำนาย  .. LBT Well Being ของเรามีโอกาสเข้าร่วมงาน เบิกบานเฟส 2024 ที่เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา  นอกเหนือไปจากจัดบูธกิจกรรมเป็นหนึ่งในสีสันของงานแล้ว ในช่วงบ่ายแก่ๆ ของงาน ณ ห้องเฟื้อ  ทิด –  ทฤษฎี สว่างยิ่ง ผู้จัดการโครงการ ชวนผู้เข้าร่วมพูดคุยถึงสุขภาวะ 5 ด้าน โดยการเร่ิมทบทวนคำว่า “สุขภาวะ” ของเรา คืออะไร โดยการชวนเพื่อนข้างๆ

LBT Well Being กับ สุขภาวะ 5 ด้าน Read More »

เบิกบานเฟส 2024 : สรรพชีวิต - Being

เบิกบานเฟส 2024 : สรรพชีวิต – Being 

ทุกๆ ปลายปี จะมีงานหนึ่งที่น่าสนใจ เรียกว่าเป็นงานเทศกาลที่ให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ได้มารวมตัวเฉลิมฉลองความหลากหลายของชีวิตในทุกๆ รูปแบบ กับงาน เบิกบานเฟส 2024  ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ณ เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา กรุงเทพฯ  สรรพชีวิตนี้ จะหมายรวมถึงความแตกต่างอย่างมีชีวิตชีวา ทั้งผู้คน สัตว์ พืช และสรรพสิ่งในธรรมชาติ ที่จะมาบรรเลงเรื่องราวของความสุข ความทุกข์ ความหวัง และพลังบวก ให้ทุกชีวิตได้มาร่วมแบ่งปันกัน เบิกบานเฟส ปีนี้ผู้จัดงานให้ความหมายกับคำว่า “สรรพชีวิต”  อธิบายบายว่า อยากให้สัมผัสถึงพลังงานใหม่ๆ ที่พร้อมให้เราเติบโตไปด้วยกันในระบบนิเวศแห่งนี้  ในงานกิจกรรมมากมาย ที่จะช่วยเสริมพลังจิตใจ ปลอบโยนความรู้สึก มอบความอบอุ่น และเติมเต็มพลังใหม่ๆ ให้เราเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะผ่านอะไรมาก็ตาม ภาวนาร่วมกันเพื่อสรรพชีวิต “อะไรที่ทำให้เรารู้สึกภูมิใจในปีนี้” เป็นคำถามที่คุณฮั้ว – ณชเล บุญญาภิสมภาร ตั้งคำถามหลังจากนำทุกคนในงาน “เบิกบานเฟส 2024”  ที่จัดขึ้นในวันนี้ (9 พฤศจิกายน 2567)  ณ

เบิกบานเฟส 2024 : สรรพชีวิต – Being  Read More »

LGBTQ Counselor

“ฟ้า” สนธญา ห้วยหงษ์ทอง บทบาทให้คำปรึกษาอัตลักษณ์ LBT “อยากให้เข้มแข็งและดูแลตัวเองได้”

ฟ้ากับบทบาทการเป็นที่ปรึกษา หรือ LGBTQ Counselor หากยังไม่ได้รู้จัก “ฟ้า” เราอาจจะคิดว่า   “เราเอาปัญหาของเราไปปรึกษาคนนี้ดีไหม”    “เขาจะอยากรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องของเรา”   แต่หากเคยได้ฟังสิ่งที่ฟ้ามักพูดเสมอว่า   “ไม่ต้องปิดกั้นตัวเอง ให้เราเอาตัวเองก้าวเข้ามา มาพูดคุยกัน มาทักทาย มาทำความรู้จักกัน”   ฟ้ากับบทบาทการเป็นที่ปรึกษา หรือ LGBTQ Counselor “ไม่ว่าจะเป็นคนใหม่ที่เพิ่งรู้สึกว่าฉันชอบผู้หญิง หรือว่าชอบผู้หญิงมานานแล้ว มีคู่อยู่แล้วแต่ยังเป็นหญิงรักหญิงอยู่จะทำยังไง ใครที่เป็นผู้หญิงชอบผู้หญิงเรารวมหมด ขอแค่มีความรู้สึกว่าชอบ ปฏิพัทธ์ต่อผู้หญิง” ฟ้าขอให้ลองเปิดใจมาทักทายทำความรู้จักกันก่อน “ฟ้าค่ะ”  สนธญา ห้วยหงษ์ทอง  เสียงใสๆ แนะนำตัวพร้อมรอยยิ้มของ “ฟ้า”      อดีตเคยทำงานให้การปรึกษา สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ก่อนผันตัวเองมาเป็น  TiakToker ที่มียอดผู้ติดตามเกือบหนึ่งแสนคน กับยอดไลค์กว่าสองแสน มีการ live พูดคุยในแฟลตฟอร์ม TikTok อย่างสม่ำเสมอ    กับบทบาทล่าสุดในการให้คำปรึกษาออนไลน์ทาง TikTok ชื่อ lbtwellbeing  และส่งข้อความพูดคุยกับฟ้าได้ทางเฟสบุ๊ค ชื่อ LBTWellbeing  อีกทั้งพบกับฟ้าได้ในกิจกรรม Group support ของโครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับกลุ่ม Lesbian (หญิงรักหญิง) Bisexual (หญิงรักได้ทั้งสองเพศ) และ Transgender (บุคคลข้ามเพศ)” หรือ

“ฟ้า” สนธญา ห้วยหงษ์ทอง บทบาทให้คำปรึกษาอัตลักษณ์ LBT “อยากให้เข้มแข็งและดูแลตัวเองได้” Read More »