แม้ไม่เห็นด้วยตา ก็ต้องเห็นด้วยใจ : วัย อาชีพ ความพิการ ก็มองหาทางออกเดียวกัน
แต่ละคนประสบปัญหาที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็มีรากของปัญหาจากที่มาเดียวกัน การไปแก้ปมหรืออคติอาจจะต้องใช้เวลานาน แต่ทางแก้ที่จะทำให้คนได้เข้าถึงสิทธิการบริการด้านสุขภาพ สิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้เหมือนกันทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ไม่มีการเลือกปฏิบัติ น่าจะเป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องลงมือทำได้ทันที สุมาลี โตกทอง คณะทำงานของโครงการ LBT Wellbeing กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาของ LBT ที่มีที่มาจากการเก็บข้อมูลผ่านการสนทนากลุ่ม (Focus group) การแลกเปลี่ยนปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข ทั้งที่ทำได้ด้วยตัวเอง ด้วยพลังของการสนับสนุนจากกลุ่ม ชุมชน และการช่วยกันผลักดันให้หน่วยงานที่จัดการระบบได้พัฒนาการบริการต่างๆ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการใช้ชีวิตของ LBT ด้วย ในแต่ละช่วงวัยนั้นประสบปัญหามากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน ปัญหาที่เกิดจากการไม่ถูกยอมรับ อคติ ที่ทำให้เกิดการตีตรา การเลือกปฏิบัตินั้น เป็นปัญหาที่ใหญ่มากในทุกระดับของสังคม ทั้งครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ที่ทำงาน บริบททางสังคม สิ่งแวดล้อม กระทบไปถึงการประกอบอาชีพ ยิ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อนยิ่งประสบปัญหาหลายรูปแบบ ผลกระทบจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งและการรับมือของแต่ละคน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่พวกเขาต้องเผชิญคนเดียว เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทั้งสังคม ที่ต้องช่วยกันมองให้เห็นและเปลี่ยนแปลงให้ได้ ในด้านช่วงวัย มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนทั้ง กลุ่มเยาวชน วัยทำงาน และผู้สูงวัย สำหรับกลุ่มเยาวชนนั้นอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ความรู้ […]
แม้ไม่เห็นด้วยตา ก็ต้องเห็นด้วยใจ : วัย อาชีพ ความพิการ ก็มองหาทางออกเดียวกัน Read More »