บทความที่น่าสนใจ

จะดีต่อใจเราแค่ไหน : ถ้านี่เป็นเรื่องที่หมอ พยาบาล ได้เรียนรู้

จะดีต่อใจเราแค่ไหน : ถ้านี่เป็นเรื่องที่หมอ พยาบาล ได้เรียนรู้

“ตอนเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หมอถามว่ามีเพศสัมพันธ์มารึเปล่า เรารู้ว่าตรวจโรคนี้ก็ต้องถาม แต่พอบอกว่ามีแฟนเป็นผู้หญิง หมอก็พูดเสียงดังว่า อันนั้นไม่เรียกว่ามีเพศสัมพันธ์ เราไม่ได้ต้องการความเห็นเรื่องนี้ ทำไมหมอไม่ถามว่าเรากลั้นฉี่บ่อยไหม กินน้ำพอรึเปล่า พอเราเจอแบบนี้เวลาเจ็บป่วยก็ไม่อยากไปหาหมอ”

หลายคนมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับการเข้ารับบริการด้านสุขภาพ ทั้งการแสดงท่าทีและคำพูดของหมอ พยาบาล รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลบางแห่งก็ใช้ท่าทีไม่ให้เกียรติ ไม่เคารพความแตกต่างหลากหลาย การไปพบหมอ พบพยาบาล ยามเจ็บป่วย จึงมักต่อด้วยเสียงบ่นว่า “ไม่อยากไปหาหมอ”

จะดีต่อใจเราแค่ไหน : ถ้านี่เป็นเรื่องที่หมอ พยาบาล ได้เรียนรู้ Read More »

ไปหาหมอ

เมื่อต้อง ไปหาหมอ  : LBT อยากได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแบบไหน

ต้องการผู้ที่มีความเข้าใจและยอมรับในเรื่องเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ
ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ แพทย์ พยาบาล บุคลากรในโรงพยาบาล ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลที่ความหลากหลายทางเพศ ไม่พูดจาหรือแสดงท่าทีที่แสดงถึงอคติทางเพศ การเลือกปฏิบัติ และการตีตรา

ต้องการแพทย์ พยาบาล ที่สร้างความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความกังวลของคนไข้
คนไข้ที่เข้ารับบริการด้านสุขภาพไม่ว่าด้วยเรื่องใด อยากให้ผู้ให้บริการสร้างความรู้สึกที่ผ่อนคลาย เพราะความเจ็บป่วยนั้นทำให้คนไข้รู้สึกไม่สบายใจและเป็นทุกข์ เป็นกังวล การไปพบหมอ พบพยาบาล เป็นเรื่องที่เพิ่มความกังวลอยู่แล้ว หากพบการให้บริการที่ยิ่งทำให้เกิดความเครียดความกังวล จะทำให้คนไข้ โดยเฉพาะกลุ่ม LBT เมื่อมีปัญหาสุขภาพก็ไม่อยากเข้ารับการรักษาหรือไปพบแพทย์ จนยิ่งทำให้อาการเจ็บป่วยจากเล็กน้อยจะกลายเป็นเจ็บป่วยหนักขึ้นก็ได้

เมื่อต้อง ไปหาหมอ  : LBT อยากได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแบบไหน Read More »

gender equality

Gender Equality – ความเป็นธรรมระหว่างเพศที่ยังมาไม่ถึง

ความเสมอภาคทางเพศ หรือความเท่าเทียมระหว่างเพศ ( Gender Equality ) กับ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในประเทศไทยนั้นยังคงถูกจำกัดสิทธิในการแสดงออกทางเพศด้วยการเลือกปฏิบัติ โดยมีการแสดงออกทางเพศอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่

Gender Equality – ความเป็นธรรมระหว่างเพศที่ยังมาไม่ถึง Read More »

โฮโมโฟเบีย

โฮโมโฟเบีย – ความกลัวที่ต้องตระหนัก

“ความกลัว” เป็นสัญชาตญาณเอาตัวรอดอย่างหนึ่งของมนุษย์ หากเกิดความกลัวก็จะทำให้มนุษย์หลีกเลี่ยงกับสิ่งที่กลัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ

จอร์จ ไวน์เบิร์ก นักจิตวิทยาจากสหรัฐฯ ผู้คิดคำว่า ‘โฮโมโฟเบีย’ (Homophobia) หรือ การเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน ขึ้นมาในช่วงทศวรรษ 1960 นิยามการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันไว้ว่า “ความกลัวการเข้าใกล้คนรักเพศเดียวกัน”

โฮโมโฟเบีย – ความกลัวที่ต้องตระหนัก Read More »

สำรวจความคิด

สำรวจความคิด แบบไหนในเรื่องเพศ  

เมื่อเลือกของขวัญให้กับลูกของเพื่อนที่เกิดมาเป็นเด็กผู้หญิง จะเลือกของขวัญอะไร เลือกสีแบบไหน

เมื่อมีเด็กๆ มาถามว่า “เป็นผู้หญิงชอบผู้หญิงได้เหรอคะ” จะตอบอย่างไร จะมีท่าทีอย่างไร

เมื่อเห็นเพื่อนผู้หญิงมีแฟนเป็นผู้หญิง จะมีท่าทีแสดงออกอย่างไร

– เมื่อมีผู้หญิงบอกว่า อยากมีหนวด ไม่อยากใส่กระโปรง อยากใส่กางเกง อยากตัดผมสั้นแบบผู้ชาย จะมีท่าทีแสดงออกอย่างไร

สำรวจความคิด แบบไหนในเรื่องเพศ   Read More »

ผู้มีความหลากหลายทางเพศ อยากมีเพื่อนร่วมงานแบบไหน

ผู้มีความหลากหลายทางเพศ อยากจะมีเพื่อนร่วมงานแบบไหน

หลายคนบอกว่าทำตัวไม่ถูกเมื่อมีเพื่อนบอกว่าเป็นคนรักเพศเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น lesbian Bisexual หรือแม้แต่เพื่อนที่มีบุคลิกเป็นทอม

เพราะไม่รู้จะทำตัวอย่างไรถึงจะไม่ถูกมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ
ถ้าทำตัวใกล้ชิดสนิทสนมเขาจะมองเราอย่างไร ถ้ารักษาระยะห่างเขาจะว่าไม่ชอบ รังเกียจ หรืออะไรรึเปล่า

แล้วจะพูดคำไหนไม่ให้สะเทือนใจเขา หรือคำไหนนะที่จะไปกระทบ และอาจจะเกิดความรู้สึกว่า ไม่รู้จะทำตัวอย่างไรดี

ผู้มีความหลากหลายทางเพศ อยากจะมีเพื่อนร่วมงานแบบไหน Read More »

สิ่งที่ควรรู้ ก่อนจะ come out

แต่ละครอบครัวนั้นมีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่แตกต่างกัน การจะ come out ได้ ต้องพิจารณากันในหลายๆ ด้าน การตอบรับที่แตกต่างกันไม่ใช่เรื่องถูกหรือผิด คนในครอบครัวแต่ละคนนั้นได้รับการหล่อหลอมและมีกรอบคิดเรื่องเพศที่ไม่เหมือนกัน

“ไม่สามารถเปิดเผยตัวตนหรือวิถีทางเพศกับครอบครัว”

“เมื่อเปิดเผยแล้ว ถูกปฏิเสธจากครอบครัว”
“การหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “แฟน” จากคนในครอบครัว โดยใช้คำว่า “เพื่อน” เข้ามาแทนที่

การไม่ยอมรับความสัมพันธ์แบบคนรักของคนในครอบครัว ทำให้ความสัมพันธ์ไม่มั่นคง ไม่สบายใจ นำไปสู่ความรู้สึกไม่มั่นคงในการสร้างความสัมพันธ์

สิ่งที่ควรรู้ ก่อนจะ come out Read More »

อัตลักษณ์ทับซ้อน

ผู้พิการ ความเสี่ยงจาก อัตลักษณ์ทับซ้อน

เมื่อคนคนหนึ่งเกิดมาเป็นคนพิการก็มักจะถูกมองว่าดูแลตัวเองไม่ได้ มีเรื่องที่ทำไม่ได้และไม่ควรทำ มีเรื่องที่ควรรู้ และไม่จำเป็นต้องรู้ด้วยเหตุผลว่าเป็นคนพิการ
หากมีเพศกำเนิดหญิง ก็ต้องเผชิญกับค่านิยมของครอบครัวและสังคมแบบชายเป็นใหญ่ ที่เป็นผู้หญิงต้องทำแบบนั้นต้องเป็นแบบนี้ รวมไปถึงต้องอยู่ในการดูแลของผู้ชาย
ยิ่งมีอัตลักษณ์เพศหลากหลายด้วย แล้วอยู่ในสังคมที่การยอมรับและการปฏิบัติต่อเพศหลากหลายยังขาดความเข้าใจ ถูกกีดกัน หรือยังมองเป็นความผิดปกติที่ไม่ควรเป็น ควรจะเลิก หรือควรจะเปลี่ยน

ผู้พิการ ความเสี่ยงจาก อัตลักษณ์ทับซ้อน Read More »

อัตลักษณ์ และ อัตลักษณ์ทับซ้อน

อัตลักษณ์ และ อัตลักษณ์ทับซ้อน

“ผู้หญิงที่มีอัตลักษณ์ทับซ้อนเช่น เป็นผู้หญิง อายุน้อย และมีความหลากหลายทางเพศ เมื่อไปอยู่ท่ามกลางการทำงานแบบวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ ความพยายามที่จะต่อสู้ ส่งเสียง มักจะไม่ถูกได้ยิน มันไม่ง่ายเลย โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชาย ที่มีอายุมากกว่าและมีรสนิยมทางเพศแบบรักต่างเพศเวลาที่เราเห็นความไม่เป็นธรรมทางเพศในการทำงาน ทำให้เรามีมุมมองในการทำงานที่แตกต่างออกไป”

มัจฉา พรอินทร์ นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว และนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ยกตัวอย่างความหมายของคำว่า ตัวอย่างหนึ่งของความหมายของคำว่า อัตลักษณ์ทับซ้อนไว้อย่างน่าสนใจ

อัตลักษณ์ และ อัตลักษณ์ทับซ้อน Read More »

ทำความเข้าใจเรื่อง “การเลือกปฏิบัติ”

การเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบเกิดขึ้นบนพื้นฐานของการมีอคติบนแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ (identity) นำมาซึ่งความแตกแยก ความเกลียดชัง และแม้กระทั่งการลดทอนความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นเพียงเพราะมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งอคติเหล่านี้นำมาซึ่งการกำหนด กฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติที่มีการเลือกปฏิบัติ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ถือเป็นการหล่อเลี้ยงความไม่เท่าเทียมกันคงอยู่ในสังคมไปเรื่อยๆ อาทิ เพศ สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา อายุ และความพิการ เป็นต้น

ทำความเข้าใจเรื่อง “การเลือกปฏิบัติ” Read More »