“บ้าน HON โฉมใหม่กับมาตรา 3: ก้าวสำคัญของระบบสุขภาพไทย”

ทำความรู้จักบ้าน HON หลังใหม่

 

บ้านสองชั้นสีเหลืองหน้าบ้านมีเทอเรซ  เป็นแบบบ้านทรงนิยมตลอดกาล รอบๆ ประกอบไปด้วยสนามหญ้าและต้นไม้สร้างความร่มรื่นให้แก่ตัวบ้านเป็นอย่างมาก  ถัดไปภายในเป็นพื้นที่สำหรับนั่งเล่น หรือทำกิจกรรมต่างๆ  ส่วนด้านบนสามารถปรับแต่งเป็นทั้งห้องประชุมหรือห้องพักได้ตามสถานการณ์  

 

บ้านใหม่ในย่านวงศ์สว่างแห่งนี้ กำลังจะกลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของ HON (เครือข่ายสุขภาพและโอกาส Health and Opportunity Network)

แรกเริ่มเดิมที HON มีพื้นที่ทำงานหลักอยู่ที่พัทยา เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มน้องๆ   กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะกลุ่มหญิงข้ามเพศ และพนักงานบริการ โดยมีบทบาทในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและการเข้ารับการรักษา และบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มานานกว่า 10 ปี 

ในปี 2568 นี้ บ้าน HON ขยับเพิ่มขึ้นหลังหนึ่ง ณ กรุงเทพฯ 

HON BKK หน่วยบริการมาตรา 3  

ข้อมูลจาก รศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  กล่าวว่า  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยกลุ่มภารกิจสนับสนุนการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิ ได้มีการประสานการดำเนินงานร่วมกับองค์กรภาคประชาชนในด้านต่างๆ พร้อมสนับสนุนการร่วมจัดบริการและขึ้นทะเบียนเป็น “หน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะด้านขององค์กรภาคประชาชน” ตามมาตรา 3 แห่ง พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

 

สปสช. ได้กำหนดเป้าหมายการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการฯ ตามมาตรา 3 แบ่งเป็น 8 ด้าน  คือ  

1. บริการฟื้นฟูคนพิการ  


2. บริการด้านเอชไอวี 


3. บริการดูแลประคับประคองระยะท้ายและชีวาภิบาล 


4. บริการด้านมิตรภาพบำบัด 


5. บริการสุนัขบำบัด 


6. บริการด้านยาเสพติด 


7. บริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย 


8. บริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์  

หน่วยบริการฯ 3 ด้านแรก สปสช. ได้มีการร่วมจัดบริการและขึ้นทะเบียนหน่วยบริการไปแล้ว และมีที่อยู่ระหว่างดำเนินการเพิ่มเติมเช่นเดียวกับอีก 5 ด้านที่ได้เริ่มดำเนินการเตรียมการในปี 2567 ต่อเนื่องถึงปี 2568

 

ในส่วนของ HON BKK (ชื่อชั่วคราว โดย ทฤษฎี สว่างยิ่ง ผู้อำนวยการ ศูนย์ฮอน) อาจจะพัฒนาในข้อ 2 คือ บริการด้านเอชไอวี ซึ่งเป็นภารกิจเดิมของ HON พัทยา มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในประเด็นนี้เป็นอย่างดี  และอาจจะพัฒนาในข้อ 8 คือ บริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ HON เช่นกัน 

 

สิ่งที่เพิ่มขึ้นจาก HON พัทยา คือ HON BKK จะเน้นการให้บริการกับกลุ่ม LBTQ+ และมีกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ในพื้นที่เพิ่มขึ้นด้วย 

 

ทฤษฎีสว่างยิ่งผู้จัดการโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งพัฒนาระบบบริการและสื่อสารสาธารณะเพื่อสุขภาวะของ LBT กล่าวว่า 

 

ทางโครงการฯกำลังเร่งจัดทำร่างมาตรฐานบริการฯซึ่งจะมีหัวข้อที่เน้นคือความสำคัญและปัญหาอุปสรรคของการเข้าถึงบริการอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศของกลุ่มเป้าหมายในเรื่องของมาตรฐานการบริหารจัดการและคุณลักษณะของผู้ให้บริการซึ่งมีรายละเอียดโดยคร่าวคือ” 

    • มาตรฐานการบริหารจัดการ (ของหน่วยบริการฯ)

    • คุณลักษณะผู้ให้บริการ

มาตรฐานการจัดบริการเพิ่มการเข้าถึงบริการอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศ

    • กิจกรรมสอดคล้องกับมาตรฐานบริการฯ ที่ได้รับการรับรองจากสน.อนามัยเจริญพันธุ์

    • แนวทางเพิ่มการเข้าถึงฯ (Empowerment, Information accessibility, Service access)

เกณฑ์การประเมินมาตรฐานการจัดบริการฯ

    • มาตรฐาน/ประกาศฯ ที่ใช้อ้างอิง

    • เกณฑ์การให้คะแนน

    • ขั้นตอนการประเมิน

    • เอกสารที่เกี่ยวข้องและแนวทางการพิจารณา

 

 

เตรียมพื้นที่จัดบริการ

เมื่อวันที่  กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา โครงการสร้างเสริมความเข้มแข็ง พัฒนาระบบบริการ และสื่อสารสาธารณะเพื่อสุขภาวะของ LBT  ได้เชื้อเชิญอาสาสมัครและแกนนำ ร่วมปรับปรุงพื้นที่สร้างสรรค์ร่วมกัน 

 

หลังจากนี้ทาง HON ร่วมกับหลายหน่วยงาน อาทิ กรมอนามัย ร่วมกันพัฒนาหลักสูตร  มาตรา 3 TRIP/ และการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพกลุ่ม/ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ซึ่งกำลังมีความคืบหน้าในระดับความร่วมมือ และร่างแผนงานร่วมกัน 

 

หากพื้นที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งใหม่นี้เปิดบ้านและทำกิจกรรมต่างๆ แล้ว ก็จะมีเรื่องราวที่จะสื่อสารความคืบหน้าร่วมกันต่อไป 

 

HON BKK : ข้อมูลการเดินทาง รถไฟฟ้าสายสีม่วง ลงสถานีวงศ์สว่าง เข้าซอยกรุงเทพฯ-นนท์ 56  มาประมาณ 500 เมตร ตามทางมาวัด และโรงเรียนโยธินบูรณะ 2