LGBT

“บ้าน HON โฉมใหม่กับมาตรา 3: ก้าวสำคัญของระบบสุขภาพไทย”

ทำความรู้จักบ้าน HON หลังใหม่   บ้านสองชั้นสีเหลืองหน้าบ้านมีเทอเรซ  เป็นแบบบ้านทรงนิยมตลอดกาล รอบๆ ประกอบไปด้วยสนามหญ้าและต้นไม้สร้างความร่มรื่นให้แก่ตัวบ้านเป็นอย่างมาก  ถัดไปภายในเป็นพื้นที่สำหรับนั่งเล่น หรือทำกิจกรรมต่างๆ  ส่วนด้านบนสามารถปรับแต่งเป็นทั้งห้องประชุมหรือห้องพักได้ตามสถานการณ์     บ้านใหม่ในย่านวงศ์สว่างแห่งนี้ กำลังจะกลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของ HON (เครือข่ายสุขภาพและโอกาส Health and Opportunity Network) แรกเริ่มเดิมที HON มีพื้นที่ทำงานหลักอยู่ที่พัทยา เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มน้องๆ   กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะกลุ่มหญิงข้ามเพศ และพนักงานบริการ โดยมีบทบาทในการส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและการเข้ารับการรักษา และบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ มานานกว่า 10 ปี  ในปี 2568 นี้ บ้าน HON ขยับเพิ่มขึ้นหลังหนึ่ง ณ กรุงเทพฯ  HON BKK หน่วยบริการมาตรา 3   ข้อมูลจาก รศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  กล่าวว่า  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยกลุ่มภารกิจสนับสนุนการมีส่วนร่วมและคุ้มครองสิทธิ ได้มีการประสานการดำเนินงานร่วมกับองค์กรภาคประชาชนในด้านต่างๆ พร้อมสนับสนุนการร่วมจัดบริการและขึ้นทะเบียนเป็น […]

“บ้าน HON โฉมใหม่กับมาตรา 3: ก้าวสำคัญของระบบสุขภาพไทย” Read More »

Sex, Gender, Identity

ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แนวคิดเกี่ยวกับเพศไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ “ชาย” หรือ “หญิง” อีกต่อไป อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) เพศสภาพ (Gender) และเพศวิถี (Sexual Orientation) เป็นแนวคิดสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจความหลากหลายของมนุษย์มากขึ้น จากกรอบคิดแบบดั้งเดิมที่ผูกเพศกับชีววิทยา วันนี้เราได้เรียนรู้ว่าเพศเป็นสิ่งที่มีมิติทางสังคม วัฒนธรรม และปัจเจกบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง LBQ+ Well Being จะทดลองพาพวกเราไปสำรวจแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเพศ พร้อมทั้งเจาะลึกถึงบทบาทของสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อการกำหนดอัตลักษณ์ทางเพศและเพศวิถี เราจะถอดรหัสความเข้าใจผิดที่พบบ่อย และเปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับโลกที่เปิดกว้างขึ้นสำหรับทุกอัตลักษณ์ทางเพศ เพราะท้ายที่สุดแล้ว เพศไม่ใช่แค่เรื่องของร่างกาย แต่เป็นเรื่องของตัวตนและการยอมรับในความเป็นมนุษย์  ความหมายของ Sex, Gender และ Identity   •Sex (เพศกำเนิด): อ้างอิงถึงลักษณะทางชีววิทยาของบุคคล เช่น โครโมโซม ฮอร์โมน และลักษณะทางกายภาพที่ถูกกำหนดตั้งแต่เกิด •Gender (เพศสภาพ): บทบาท บรรทัดฐาน และความคาดหวังทางสังคมที่กำหนดให้กับเพศชายและเพศหญิง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม •Gender Identity (อัตลักษณ์ทางเพศ): ความรู้สึกภายในของบุคคลว่าตัวเองเป็นเพศใด ซึ่งอาจสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด อัตลักษณ์ทางเพศและความหลากหลายของเพศสภาพ •Binary

Sex, Gender, Identity Read More »

ความเท่าเทียมในทางปฏิบัติ  สิทธิมนุษยชนของ LBQ

สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญต่อการดำรงชีวิตของทุกคนโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา เพศ แต่จากการสำรวจข้อมูลและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกลุ่ม LBQ (เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล เควียร์) ยังคงพบว่าคนกลุ่มนี้ประสบปัญหาการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน  ที่สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม ในกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อสุขภาวะของ LBQ ได้นำประเด็นความรู้และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่มีการเลือกปฏิบัติหรือการละเมิดสิทธิมนุษชน รวมไปถึงกลไกการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ LBQ ควรรู้และนำไปปฏิบัติได้ สำหรับความเข้าใจพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่ม LBQ นั้น เป็นเรื่องของการปฎิบัติอย่างเท่าเทียมในทุกด้านของชีวิตโดยปราศจากการเลือกปฎิบัติหรือการถูกละเมิด เช่น       – สิทธิในการมีชีวิตที่ปลอดภัย หมายถึง ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้โดยปราศจากการถูกคุกคาม หรือการใช้ความรุนแรง อันเนื่องมาจากความเป็นเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศ       -สิทธิในการแสดงออกถึงตัวตน หมายถึงสามารถแสดงตัวตนทางเพศได้โดยปราศจากความกลัวหรือการกีดกัน       -สิทธิในการเข้าถึงการศึกษา หมายถึงรัฐรับรองสิทธิการศึกษาให้เป็นการศึกษาฟรีที่ทุกคนต้องได้รับ 15 ปี ตั้งแต่อนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3      -สิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเข้ารักษาในสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งและที่ขึ้นทะเบียนไว้กับรัฐ และการเป็นสิทธิที่ต้องได้รับการบริการที่เหมาะสมโดยไม่มีอคติ      -สิทธิในความเท่าเทียมทางกฎหมาย  หมายถึงการเข้าถึงสิทธิต่างๆ เช่น การคุ้มครองในที่ทำงาน การแต่งงาน

ความเท่าเทียมในทางปฏิบัติ  สิทธิมนุษยชนของ LBQ Read More »

LBT กับ VUCA World และสุขภาวะ 5 มิติ

LBT กับ VUCA World และสุขภาวะ 5 มิติ

LBT กับ VUCA World: การรับมือความท้าทายในโลกยุคใหม่ ในโลกยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว หรือที่เรียกว่า VUCA World (Volatility, Uncertainty, Complexity, Ambiguity)      การเคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะ LBT ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ทั้งในเชิงสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เรียกได้ว่ามักจะเกิดความเปลี่ยนแปลงและมีเรื่องที่ไม่คาดฝันอยู่ตลอดเวลา     ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนทางเศรษฐกิจที่คาดเดาได้ยากส่งผลต่อการทำมาหากินของทุกคน การพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้โลกของเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ใครไม่ทันการเปลี่ยนแปลงนี้ก็จะอยู่ยากมากขึ้น อย่างสวัสดิการรัฐของประไทยก็ต้องใช้อุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือในการเข้าถึง หรือเหตุการก่อการร้ายและการจราจลที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครทราบล่วงหน้า ฯลฯ    ดังนั้นคำว่า VUCA  World นี้ ในมุมมองขององค์กรที่สนใจการจัดการความรู้ต่างๆ จะเน้นย้ำและให้สำคัญมาก จำเป็นต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้  ซึ่งคำว่า VUCA นี้ ย่อมาจาก 1. Volatility (ความผันผวน): การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไม่คาดคิด 2. Uncertainty (ความไม่แน่นอน): การขาดความชัดเจนในอนาคต 3. Complexity (ความซับซ้อน): ปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวพันกัน

LBT กับ VUCA World และสุขภาวะ 5 มิติ Read More »

LBT Well Being กับ สุขภาวะ 5 ด้าน

LBT Well Being กับ สุขภาวะ 5 ด้าน

“นึกถึงแบบทดสอบที่ให้คะแนน 1-10”  เมื่อได้ยินคำนี้แล้วผู้เขียนรู้สึก เอ๊ะ!! แต่เมื่อเงี่ยหูฟังต่อก็ได้คำตอบ   จากคำถามที่ว่า “คำว่า สุขภาวะ” ในความหมายหรือความเข้าใจของเราคืออะไร  นักศึกษาแพทย์หน้าใสคนนี้เล่าให้เพื่อนที่ได้จับคู่กันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เล่าว่า เวลาเปิดหนังสือ นิตยสาร จะมีคอลัมน์ตอบคำถามทายนิสัย  หรือ Quiz Game แบบทดสอบที่มักจะมี Ranking 1-10 แล้วให้เราอ่านเฉลยหรือคำทำนาย  .. LBT Well Being ของเรามีโอกาสเข้าร่วมงาน เบิกบานเฟส 2024 ที่เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา  นอกเหนือไปจากจัดบูธกิจกรรมเป็นหนึ่งในสีสันของงานแล้ว ในช่วงบ่ายแก่ๆ ของงาน ณ ห้องเฟื้อ  ทิด –  ทฤษฎี สว่างยิ่ง ผู้จัดการโครงการ ชวนผู้เข้าร่วมพูดคุยถึงสุขภาวะ 5 ด้าน โดยการเร่ิมทบทวนคำว่า “สุขภาวะ” ของเรา คืออะไร โดยการชวนเพื่อนข้างๆ

LBT Well Being กับ สุขภาวะ 5 ด้าน Read More »

เบิกบานเฟส 2024 : สรรพชีวิต - Being

เบิกบานเฟส 2024 : สรรพชีวิต – Being 

ทุกๆ ปลายปี จะมีงานหนึ่งที่น่าสนใจ เรียกว่าเป็นงานเทศกาลที่ให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ได้มารวมตัวเฉลิมฉลองความหลากหลายของชีวิตในทุกๆ รูปแบบ กับงาน เบิกบานเฟส 2024  ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ณ เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา กรุงเทพฯ  สรรพชีวิตนี้ จะหมายรวมถึงความแตกต่างอย่างมีชีวิตชีวา ทั้งผู้คน สัตว์ พืช และสรรพสิ่งในธรรมชาติ ที่จะมาบรรเลงเรื่องราวของความสุข ความทุกข์ ความหวัง และพลังบวก ให้ทุกชีวิตได้มาร่วมแบ่งปันกัน เบิกบานเฟส ปีนี้ผู้จัดงานให้ความหมายกับคำว่า “สรรพชีวิต”  อธิบายบายว่า อยากให้สัมผัสถึงพลังงานใหม่ๆ ที่พร้อมให้เราเติบโตไปด้วยกันในระบบนิเวศแห่งนี้  ในงานกิจกรรมมากมาย ที่จะช่วยเสริมพลังจิตใจ ปลอบโยนความรู้สึก มอบความอบอุ่น และเติมเต็มพลังใหม่ๆ ให้เราเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าจะผ่านอะไรมาก็ตาม ภาวนาร่วมกันเพื่อสรรพชีวิต “อะไรที่ทำให้เรารู้สึกภูมิใจในปีนี้” เป็นคำถามที่คุณฮั้ว – ณชเล บุญญาภิสมภาร ตั้งคำถามหลังจากนำทุกคนในงาน “เบิกบานเฟส 2024”  ที่จัดขึ้นในวันนี้ (9 พฤศจิกายน 2567)  ณ

เบิกบานเฟส 2024 : สรรพชีวิต – Being  Read More »

LGBTQ Counselor

“ฟ้า” สนธญา ห้วยหงษ์ทอง บทบาทให้คำปรึกษาอัตลักษณ์ LBT “อยากให้เข้มแข็งและดูแลตัวเองได้”

ฟ้ากับบทบาทการเป็นที่ปรึกษา หรือ LGBTQ Counselor หากยังไม่ได้รู้จัก “ฟ้า” เราอาจจะคิดว่า   “เราเอาปัญหาของเราไปปรึกษาคนนี้ดีไหม”    “เขาจะอยากรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องของเรา”   แต่หากเคยได้ฟังสิ่งที่ฟ้ามักพูดเสมอว่า   “ไม่ต้องปิดกั้นตัวเอง ให้เราเอาตัวเองก้าวเข้ามา มาพูดคุยกัน มาทักทาย มาทำความรู้จักกัน”   ฟ้ากับบทบาทการเป็นที่ปรึกษา หรือ LGBTQ Counselor “ไม่ว่าจะเป็นคนใหม่ที่เพิ่งรู้สึกว่าฉันชอบผู้หญิง หรือว่าชอบผู้หญิงมานานแล้ว มีคู่อยู่แล้วแต่ยังเป็นหญิงรักหญิงอยู่จะทำยังไง ใครที่เป็นผู้หญิงชอบผู้หญิงเรารวมหมด ขอแค่มีความรู้สึกว่าชอบ ปฏิพัทธ์ต่อผู้หญิง” ฟ้าขอให้ลองเปิดใจมาทักทายทำความรู้จักกันก่อน “ฟ้าค่ะ”  สนธญา ห้วยหงษ์ทอง  เสียงใสๆ แนะนำตัวพร้อมรอยยิ้มของ “ฟ้า”      อดีตเคยทำงานให้การปรึกษา สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ก่อนผันตัวเองมาเป็น  TiakToker ที่มียอดผู้ติดตามเกือบหนึ่งแสนคน กับยอดไลค์กว่าสองแสน มีการ live พูดคุยในแฟลตฟอร์ม TikTok อย่างสม่ำเสมอ    กับบทบาทล่าสุดในการให้คำปรึกษาออนไลน์ทาง TikTok ชื่อ lbtwellbeing  และส่งข้อความพูดคุยกับฟ้าได้ทางเฟสบุ๊ค ชื่อ LBTWellbeing  อีกทั้งพบกับฟ้าได้ในกิจกรรม Group support ของโครงการ “เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับกลุ่ม Lesbian (หญิงรักหญิง) Bisexual (หญิงรักได้ทั้งสองเพศ) และ Transgender (บุคคลข้ามเพศ)” หรือ

“ฟ้า” สนธญา ห้วยหงษ์ทอง บทบาทให้คำปรึกษาอัตลักษณ์ LBT “อยากให้เข้มแข็งและดูแลตัวเองได้” Read More »

homophobia

รู้และเท่าทันอาการ “โฮโมโฟเบีย”

ในโลกใบนี้ที่มีอัตลักษณ์ความหลากหลายมากมาย เกินกว่าจะจับใส่กล่องได้เพียง 2 ใบว่าเป็น “ผู้ชาย” กับ “ผู้หญิง” ยังมีกล่องใบอื่นๆ และยังมีนอกกล่องนอกกรอบที่อาจจะเกินไปจากการรับรู้ของเรา
อีกทั้งไม่ได้มีเพศวิถีเดียวคือรักต่างเพศ แต่มีเพศวิถีที่หลากหลายอีกเช่นกัน

และไม่ว่าจะมีอัตลักษณ์ทางเพศแบบไหน หรือเพศวิถีแบบใด ก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายที่จะต้องเกลียดต้องกลัว ตั้งป้อมรังเกียจ ชังน้ำหน้ากันทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักมักจี่

รู้และเท่าทันอาการ “โฮโมโฟเบีย” Read More »

การคุกคามทางเพศ

การคุกคามทางเพศ เป็นเรื่องผิด ไม่ควรถูกมองข้าม เพิกเฉย ไม่มีใครควรถูกคุกคาม

ได้ฟังเรื่องราวของการคุกคามทางเพศในที่ทำงานของกลุ่ม LBT โดยเฉพาะท่านที่อาจจะไม่ได้เรียกตัวเองว่า “ทอม” (เพราะหลายคนก็ไม่ชอบให้เรียกตัวเองด้วยคำนี้) บุคลิกก็จะเป็นแบบห้าวๆ เท่ๆ มีแฟนเป็นผู้หญิง และถูกคนในที่ทำงานที่เป็นเพศชาย แสดงออกถึงการคุกคามทางเพศ หรือ Sexual Harassment ซึ่งอาจจะมีหลายคนพบเจอปัญหานี้เช่นเดียวกันในรูปแบบต่างๆ เช่น

การคุกคามทางเพศ เป็นเรื่องผิด ไม่ควรถูกมองข้าม เพิกเฉย ไม่มีใครควรถูกคุกคาม Read More »

เราดูแลตัวเองดีแค่ไหน - Self Care

เราดูแลตัวเองดีแค่ไหน (Self Care)

การดูแลตัวเอง (Self-care) เป็นพฤติกรรมการดูแลตัวเองทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ทั้งภายนอกและภายใน คนที่รู้จักรักตัวเอง (Self-love) รู้ว่าตัวเองคุณค่ามีความหมายก็จะมีความพยายามในการดูแลตัวเองในด้านต่างๆ
การดูแลตัวเองนั้นเป็นความรับผิดชอบของตัวเราเองโดยตรง แม้หลายเรื่องจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น แต่การเริ่มต้นลงมือทำบางอย่างของเราก็จะส่งผลต่อตัวเราเองเช่นกัน

มาลองดูกันว่า เราดูแลตัวเองในแต่ละด้านได้ดีแค่ไหน ถ้าให้คะแนน 1-10 ในแต่ละข้อแต่ละเรื่อง เราอยู่ระดับไหน

ถ้าคะแนนของเราในเรื่องนั้นน้อยไป เราจะได้หาทางปรับให้ดีขึ้น

เราดูแลตัวเองดีแค่ไหน (Self Care) Read More »